รายงานผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รายงานผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 – เดือนมีนาคม 2567
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
- โครงการรูปแบบนวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงภูมิวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้านเศรษฐกิจและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านหนองตาไก้ ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- โครงการนวัตกรรมการยกระดับบทบาทสภาองค์กรชุมชนในการป้องกันการทุจริตในพื้นที่ชุมชนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์และชุมชนบ้านหนองไทร ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- โครงการนวัตกรรมการขับเคลื่อนภาคพลเมืองตามวิถีปัจเจกชนนิยมต่อการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
- โครงการนวัตกรรมการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ ในเขตตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
- โครงการนวัตกรรมการเสริมสร้างวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยการนำธรรมนูญศีลห้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของชุมชนวัดโพธิ์ย่อย ตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- โครงการนวัตกรรมการผลิตข้าวสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมูลค่าสูง เพื่อการแข่งขันเชิงพาณิชย์ของกลุ่มเกษตรนาแปลงใหญ่ บ้านขี้ตุ่น ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์
- นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าและยกระดับผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์เพื่อสุขภาพสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของชุมชนบ้านน้อยพัฒนา ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- นวัตกรรมการผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพรเพื่อสุขภาพจากดินชุมชนโบราณเชียงนวน ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โครงการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวยากจนและกลุ่มเปราะบางแบบเบ็ดเสร็จ แม่นยำและยั่งยืน
- โครงการนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวเปราะบางชุมชนบ้านชุมทอง ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
อาจารย์ธนกร เพชรสินจร และคณะ
วิธีดำนินงาน: อบรมพัฒนาทักษะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ร่วมกันทำจัดแผนที่ปั่นจักรยานไปตามฐานท่องเที่ยวต่างๆ
ผลที่เกิดขึ้น: ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการเสริมสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยว การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน และจะช่วยให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
ผศ.ดร.สถาพร วิชัยรัมย์ และคณะ
1.กิจกรรมการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริต สาเหตุของการทุจริต และผลกระทบจากการทุจริต รวมทั้งถอดบทเรียนจากสภาองค์กรชุมชนตัวอย่างที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการต่อต้านการทุจริต
2.กิจกรรมการสร้างนวัตกรรมส่งเสริมแนวทางการปฏิบัติตามบทบาทของสภาองค์กรชุมชนต่อการป้องกันการทุจริต และได้ศูนย์เฝ้าระวังการทุจริตภาคประชาชน ของชุมชนในพื้นที่
จัดเวทีประชุมเสนอแผนการป้องกันและต่อต้านการทุจริตของสภาองค์กรชุมชนและสร้างพลังเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนต้นแบบในการป้องกันการทุจริตอย่างมีส่วนร่วมและทำความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายต่อต้านการทุจริต สรุปผลการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต
ผศ.ดร. ธนพัฒน์ จงมีสุข และคณะ
วิธีการดำเนินงาน : 1. การที่จะส่งเสริมการขับเคลื่อนในพื้นที่เป้าหมาย 2. ได้ฐานข้อมูลกรรมการศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตยในเขตพื้นที่เป้าหมาย 3. ได้รูปแบบการพัฒนาขับเคลื่อนภาคพลเมืองตามหลักปัจเจกชนนิยม 4. การสร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนภาคพลเมือง 5. การสร้างรูปแบบพลเมืองตามหลักปัจเจกชนนิยมเสริมสร้างประชาธิปไตย ผลที่เกิดขึ้น : ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการพัฒนาโมเดลการขับเคลื่อนภาคพลเมืองตามหลักปัจเจกชนนิยม 1. พัฒนาความร่วมมือภาครัฐและคณะกรรมการศูนย์ในเขตพื้นที่ 2. กลไกความร่วมมือชุมชน 3. กลไกความร่วมมือเครือข่ายกรรมการศูนย์ (ศส.ปชต.)
ผศ.ดร.ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ และคณะ
วิธีการดำเนินงาน : อบรมพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน การพัฒนาทักษะด้านกฎหมาย สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ (Digital Literacy)และด้านสุขภาพ (Health Literacy)
ผลที่เกิดขึ้น : 1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน การพัฒนาทักษะด้านกฎหมาย สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ (Digital Literacy)และด้านสุขภาพ (Health Literacy) 2.รูปแบบการจัดการแนวทางการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมสูงวัย
อาจารย์ ดร.สากล พรหมสถิตย์ และคณะ
วิธีการดำเนินงาน :
1 กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิถีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และหลักธรรมนูญศีลห้า
2 กิจกรรมการทบทวนผลการปฏิบัติตามธรรมนูญศีลห้ารวมทั้งถอดบทเรียนปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัจจัยอุปสรรคของชุมชนวัดโพธิ์ย่อยที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมธรรมนูญหมู่บ้านศีลห้าที่ผ่านมา
– กิจกรรมการสร้างรูปแบบการปฏิบัติตามธรรมนูญศีลห้าเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนวัดโพธิ์ย่อย เพื่อนำไปสู่วิถีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
– กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีของวิถีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยการประยุกต์ใช้ธรรมนูญศีลห้า
– ร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ในการนำหลักศีลห้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน
– ประเมินผลการดำเนินโครงการและสรุปบทเรียน
ผลที่เกิดขึ้น :
นวัตกรรมรูปแบบชุมชนตามวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยผ่านกระบวนการนำหลักธรรมนูญศีลห้ามาเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต
อาจารย์ ดร.วิษณุ ปัญญายงค์ และคณะ
1. กิจกรรมต้นน้ำ กิจกรรมการเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจระหว่างผู้จัดทำโครงการและการวางแผน รวบรวมข้อมูลข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการของเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 2. กิจกรรมส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวอินทรีย์อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3. กิจกรรมปลายน้ำ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมการพัฒนาสื่อในรูปแบบดิจิทัล คลิป ภาพ เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์มาตรฐานข้าวอินทรีย์ ในเขตพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ผลที่เกิดขึ้น จากการดำเนินโครงการการพัฒนาและขับเคลื่อนเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าสูงสู่เชิงพาณิชย์ ในเขตพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้แก่ตำบลโคกกลาง ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์มีประชาชนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 3 ตำบล ได้แก่ตำบลโคกกลาง ตำบลหนองโดน และตำบลโคกสะอาด รวมทั้งสิ้น 150 คน จำนวน 9 หมู่บ้าน เกษตรกรมีทักษะในการปลูกข้าวอินทรีย์และสามารถรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปและจำหน่ายข้าวอินทรีย์ 5 กลุ่ม เกิดการพัฒนาศักยภาพเป็นผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ส่งให้ยังศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าวบุรีรัมย์ โดยมีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวอินทรีย์ที่ได้รับมาตรฐาน เพิ่มขึ้น 100 ไร่ เกษตรที่เป็นสมาชิกสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยล่ะ 70 จากการจำหน่ายข้าวอินทรีย์และข้าวพันธุ์อินทรีย์ และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์
อาจารย์ ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน และคณะ
วิธิการดำเนินงาน 1. จัดกระบวนการถ่ายทอดเรียนรู้ 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เป็น ขนมไส้ซุกกิ๊ก 3. จดทะเบียนพาณิชย์ 4. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และออกแบบโลโก้ 4. จดทะเบียนยกระดับผลิตภัณฑ์เป็นสินค้า OTOP 5. ขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อย. และ 6. นำลงแพลตฟอร์มออนไลน์ใน BRU-Market Place เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลที่เกิดขึ้น 1. เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น 2. มีแพลตฟอร์มออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (BRU Market Place) เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 3. ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
ผศ.ดร.ภัทรพล ทศมาศ และคณะ
วิธิการดำเนินงาน 1. จัดกระบวนการถ่ายทอดเรียนรู้ 2. พัฒนานวัตกรรมการผลิตไข่เค็มสมุนไพร 3. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และออกแบบโลโก้ ผลที่เกิดขึ้น 1. เกิดพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น 2. ไข่เค็มสมุนไพรสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (BRU Market Place) 3. ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
ผศ.ดร.ภัทรพล ทศมาศ และคณะ
วิธิการดำเนินงาน 1. จัดกระบวนการถ่ายทอดเรียนรู้ 2. พัฒนานวัตกรรมการผลิตภัณฑ์ 3. การออกแบบผลิตภัณฑ์ ผลที่เกิดขึ้น 1. เกิดพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น 2. เกิดการยกระดับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (BRU Market Place) 3. กลุ่มเปราะบางมีรายได้เพิ่มขึ้น
วารสาร นวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์