

ศาลปกครองและอำนาจพิพากษาของศาลปกครอง
[500146 สากล พรหมสถิตย์ : รายงาน]
วิธีการในการควบคุมการใช้อำนาจทางปกครองตามหลักกฎหมายปกครอง โดยองค์กรภายนอก : ศาลปกครอง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
มาตรา 197 “ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ให้มีศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น
อำนาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรอิสระ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรอิสระนั้นๆ
การจัดตั้ง วิธีพิจารณาคดี และการดำเนินงานของศาลปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น”
มาตรา 198 “การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครองต้องมีความเป็นอิสระ และดำเนินการโดยคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นตุลาการในศาลปกครองไม่เกินสองคน บรรดาที่ได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการศาลปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
คดีปกครองมีลักษณะพิเศษต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญา ดังนั้น จึงมีวิธีพิจารณาที่เหมาะสมกับสภาพของคดีปกครองเอง ซึ่งได้แก่วิธีพิจารณาแบบไต่สวน อันเป็นวิธีการที่มีหลักสำคัญในการให้อำนาจศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงได้ อย่างกว้างขวาง และเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาเอง การพิจารณาคดีปกครองต้องเคารพหลักทั่วไปของระบบวิธีพิจารณาคดี อันเป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้มีการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ เช่น การฟังความสองฝ่าย การพิจารณาไปตามกรอบของคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง การคัดค้านตุลาการ เป็นต้น
มาตรา 7 ศาลปกครองแบ่งออกเป็นสองชั้น คือ (1) ศาลปกครองสูงสุด (2) ศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่ ก. ศาลปกครองกลาง ข. ศาลปกครองในภูมิภาค ใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคดีปกครอง (ระบบไต่สวน ให้ตุลาการมีบทบาทสำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณา และแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่จำเป็นต่อการพิจารณาพิพากษาคดี) กระบวนพิจารณาคดีปกครองจะมีหลักการที่สำคัญ คือเป็นกระบวนการพิจารณา ที่ส่วนใหญ่จะเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นระบบไต่สวน
“อำนวยความยุติธรรมทางปกครองด้วยความเป็นธรรม รวดเร็ว ทันสมัย
เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคม และเป็นศาลแห่งความเป็นเลิศ”
ในการดำเนินคดีปกครองของศาลปกครอง จะมีสำนักงานศาลปกครองทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของศาลปกครองคือ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินการของศาลปกครองเป็นไปได้ด้วยดี และมีประสิทธิภาพ สำนักงานศาลปกครองเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อประธานศาลปกครองสูงสุดในการบริหารงานสำนักงานศาลปกครอง
มาตรา 77 กำหนดให้สำนักงานศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- รับผิดชอบในงานธุรการของศาลปกครอง
- ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองตามคำสั่งของศาลปกครอง
- ดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลปกครอง
- ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การปฎิบัติงานของศาลปกครอง
- วิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีปกครองเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฎิบัติราชการต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
- จัดพิมพ์และเผยแพร่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง
- จัดให้มีการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ของตุลาการศาลปกครอง ข้าราชการฝ่ายศาลปกครองและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาหลักกฎหมายมหาชน การบริหารราชการแผ่นดิน และบุคลากรด้านกฎหมายมหาชน
- ปฏิบัติการอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานศาลปกครอง
[ผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทั้ง 3 หมู่เรียน]
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
[ผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทั้ง 3 หมู่เรียน]
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
- https://drive.google.com/drive/folders/1H77hwwuAsA6-V9aONCf4BgzqwBkxdX7o
- https://drive.google.com/drive/folders/18gK_NOBdF7j6qeXiD3iSInUOhh54N04z
- https://drive.google.com/drive/folders/1eTLNl-69HH3W6WK-RUyNfkFHrI2Um9VD