งานวิจัยนักศึกษา (รป.ม.) : การศึกษาสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์
งานวิจัยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) : การศึกษาสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ โดย ปาริชาติ สังข์วงษ์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ ผศ.ดร.ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ, ผศ.ดร.สถาพร วิชัยรัมย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นำเสนอผลงานวิจัย “การศึกษาสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์” ในวารสารวิชาการ Interdisciplinary Academic and Research Journal (วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ) ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 (2023) พฤศจิกายน-ธันวาคม
บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาสมรรถนะ (Competency) ของบุคลากร เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยสำคัญรวมถึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ตลอดจนเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ด้วย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์
ระเบียบวิธีการวิจัย: กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แจกให้กับข้าราชการที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : สมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม รองลงมา คือ ด้านการบริการที่ดี ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ตามลำดับ ผลการวิจัยเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ พบว่า ควรมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ข้าราชการ มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานที่เป็นของตนเอง รองลงมา คือ ควรจัดอบรมหรือศึกษาดูงานในสถานที่ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ตามลำดับ
สรุปผล: สมรรถนะของข้าราชการที่ทำการปกครอง จังหวัดบุรีรัมย์เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรมเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ตามลำดับ ผลวิจัยแนะนำให้มีการรณรงค์ส่งเสริมให้ข้าราชการทำการปฏิบัติงานมีคู่มือการปฏิบัติงานส่วนตัวและการจัดอบรมในสถานที่ที่นำเทคโนโลยีมาใช้จริง
บทความฉบับเต็ม : https://so03.tci-thaijo.org/index.php/IARJ/article/view/271992/180800