การบริหารความขัดแย้ง3 (งานกลุ่ม)
เทวา ทำอาษา 640132801006
สุพพัตรา บุญเลิศ 640132801032
วทัญญู พุ่มพวง 640132801020
พิทักษ์พงศ์ นะรารัมย์ 640132801012
ประภิมุข ครองรัตนโชค 640132801010
นักศึกษาสาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ ภาค กศ.บป รุ่น 64 นำเสนองานกลุ่ม เรื่อง การบริหารความขัดแย้ง ในรูปแบบของความเรียง งานกลุ่มบริารความขัดแย้งความเรียงจาก tdc.thailis.or.th ประกอบด้วย ความเรียง, แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง, กรณีศึกษา, ใคร, ศึกษาอะไร, เพื่ออะไร, ด้วยเครื่องมืออะไร, ผลการศึกษาเป็นอย่างไร
ความหมายของความขัดแย้ง
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประกายกาญน์ แดงมาดี (2559 : 14), สัญญา บุปผาชาติ (2563 : 11), สัญจิตา กล้ายประยงค์ (2565 : 11), อภิศรา ศรีบุศยกุล (2565 : 18) และ ปพัชญา แก้วชัย (2566 : 18) สรุปได้ว่า ความหมายของความขัดแย้งความขัดแย้ง หมายถึง สถานการณ์ที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน และไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการขัดขวางหรือกีดกันไม่ให้แต่ละฝ่ายบรรลุเป้าหมายของตนเอง ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้จากความแตกต่างในด้านผลประโยชน์ แนวคิด ความรู้ และเป้าหมาย โดยอาจเกิดขึ้นระหว่างบุคคลสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น และอาจจำเป็นต้องมีบุคคลที่สามเข้ามาไกล่เกลี่ยเพื่อหาทางออก
ประเภทของความขัดแย้ง
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พิมพ์ประภา หมีทอง (2555 : 29), ประกายกาญน์ แดงมาดี (2559 : 24), ฐาศุกร์ จันประเสริฐ (2558 : 5-6), อภิศรา ศรีบุศยกุล (2565 : 28)และ สัญญา บุปผาชาติ (2563 : 13) สรุปได้ว่า ประเภทของความขัดแย้ง แบ่งได้หลายประเภทด้วยกัน ทั้งความขัดแย้งภายในตัวบุคคล ระหว่างบุคคล ภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่ม ภายในองค์การ และระหว่างองค์การ โดยความขัดแย้งเหล่านี้เกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความแตกต่างกันทางความคิด ความเชื่อ ค่านิยม การแข่งขันแย่งชิงทรัพยากร การรับรู้ความไม่เป็นธรรม การขาดความมั่นใจในตนเอง เป็นต้น การเข้าใจถึงประเภทและสาเหตุของความขัดแย้งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมต่อไป
สาเหตุของความขัดแย้ง
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ปพัชญา แก้วชัย (2566 : 30), ประกายกาญน์ แดงมาดี (2559 : 28), สัญจิตา กล้ายประยงค์ (2565 : 13), สัญญา บุปผาชาติ (2563 : 15) และ อภิศรา ศรีบุศยกุล (2565 : 24) สรุปได้ว่าสาเหตุของความขัดแย้ง เกิดจาก ผลประโยชน์ ค่านิยม โครงสร้างความแตกต่างกันในหน้าที่หรือลักษณะของงาน และวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์กรและตัวบุคคล
ผลของความขัดแย้ง
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ (2556 : 181- 182), เมตต์ เมตต์การณ์จิต (2559 : 114), สัญจิตา กล้ายประยงค์ (2565 : 9), สัญญา บุปผาชาติ (2563 : 11) และ ประกายกาญน์ แดงมาดี (2559 : 27)สรุปได้ว่า ความขัดแย้งในองค์กรมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับการจัดการ: ข้อดี: ช่วยกระตุ้นความคิดสร้าผลงสรรค์ การร่วมมือ การแก้ปัญหา และการพัฒนา ข้อเสีย: สร้างความเครียด ขาดความร่วมมือ ทำลายความสามัคคี และอาจบานปลายจนยากจะแก้ไขการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์สามารถนำไปสู่ผลดีมากกว่าผลเสีย ขณะที่การหลีกเลี่ยงหรือจัดการไม่ดีอาจส่งผลร้ายแรงต่อองค์กรและบุคคล
การบริหารความขัดแย้ง
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ปพัชญา แก้วชัย (2566 : 33), ประกายกาญน์ แดงมาดี (2559 : 41), สัญจิตา กล้ายประยงค์ (2565 : 13), สัญญา บุปผาชาติ (2563 : 20) และ อภิศรา ศรีบุศยกุล (2565 : 32) สรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับประเภทและระดับของความขัดแย้ง การบริหารความขัดแย้งมีวิธีการหลัก ๆ 5 วิธี ได้แก่ 1.วิธีเผชิญหน้า เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง หาวิธีแก้ไขจนได้ข้อยุติ 2.วิธีหลีกเลี่ยง เป็นการหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหา 3. วิธีบังคับ เป็นการใช้อํานาจบังคับให้คนอื่นทําตาม 4. วิธีไกล่เกลี่ย เป็นการเจรจาต่อรอง ลดความแตกต่างทางความคิด 5. วิธีประนีประนอม เป็นการหาทางสายกลางให้ทั้งสองฝ่ายพอใจ วิธีที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ไม่มีวิธีใดดีที่สุด ผู้บริหารต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
กรณีศึกษา
จากกรณีศึกษาครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้รวลรวมเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกันไว้พอสังเขป สรุปได้ดังนี้
ปพัชญา แก้วชัย (2566) ศึกษาเรื่อง แนวทาง การบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาโดยนาโนจังหวัดเชียงราย ผลศึกษา พบว่า สาเหตุของความขัดแย้งในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยนางนอน จังหวัดเชียงราย พบว่าสาเหตุของความขัดแย้งอาจเนื่องมาจากคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุดในองค์การและเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่จะขับเคลื่อนให้องค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่เนื่องจากคนเราทุกคนมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิดเห็น การรับรู้ ค่านิยมและผลประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ
อมรรัตน์ ไกรฤกษ์ (2557 : 66) ได้ศึกษาสาเหตุความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1กล่าวว่า พื้นฐานโดยธรรมชาติของมนุษย์ล้วนต้องการได้รับสิ่งดี ปรารถนาเลือกสรรแต่สิ่งดีเพื่อตนเอง เมื่อใดที่ตนเองต้องสูญเสียผลประโยชน์ ย่อมเกิดความไม่พอใจความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดและเกิดขึ้นในสังคมทั่วไปทุกระดับ ความขัดแย้งที่เกิดจากการสูญเสียผลประโยชน์อาจนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งพวก ความแตกแยกขาดความสามัคคีในองค์กรและในประเทศ ดังนั้นผู้บริหารต้องประสานประโยชน์ให้ลงตัวกับบุคลากรในสถานศึกษา และสอดคล้องกับวิธีการที่จะวิเคราะห์และประเมินความแตกต่างของความคิดเห็นของบุคคลตามความเห็นของ ณัชชา คงศรี (2555 : 108) คือ การหาสาเหตุของการทำให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการมีข้อมูลคนละอย่าง มีการรับรู้ที่แตกต่างของข้อมูลเดียวกัน ตีความหมายของข้อมูลเดียวกัน หรืออาจมีความสนใจที่แตกต่างกันเพราะบทบาทคนละอย่างกัน
ประกายกาญน์ แดงมาดี (2559) ศึกษาเรื่อง การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน กาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) โดยภาพรวมอยูในระดับมาก เมื่อพิจารณารายแบบพบว่าอยู่ในระดับ มาก 2 แบบ โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ แบบการร่วมมือ แบบการ ประนีประนอม อยู่ในระดับปานกลาง 3 แบบ คือ แบบการยอมให้ แบบการเอาชนะ แบบการ หลีกเลี่ยง ตามลำดับ 2. แนวทางในการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) จากการนำวิธีการบริหารความขัดแย้งทัง 5 แบบของโทมัส 63 64 และคิลแมนมาเป็นประเด็นในนกาญจนา ภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รวมทังสิ้นจำนวน 6 คน สรุปแนวทางการ บริหารได้ดังนี้ แบบการเอาชนะ ผู้บริหารแถลงนโยบายการทำงานพร้อมกำชับให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตาม นโยบายอย่างเคร่งครัด แบบการรวมมือผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ความคิดร่วมกันในการวินิจฉัยปัญหาความขัดแย้ง แบบการประนีประนอม ผู้บริหารพยายามถนอมน้ำใจ ผู้อื่นเพื่อรักษาสัมพันธภาพไว้และรับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่าย แบบการหลีกเลี่ยง ผู้บริหาร หลีกเลี่ยงโต้เถียงในเรื่องที่ไมเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น แบบการยอมให้ ผู้บริหารพยายามถนอมนำใจไม่ทำร้ายความรู้สึกของผู้อื่น
สัญจิตา กล้ายประยงค์ (2565) ศึกษาเรื่อง การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การประนีประนอม รองลงมา คือ การร่วมมือ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การหลีกเลี่ยง 2) การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสงคราม ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุด คือ การร่วมมือ รองลงมา คือ การมีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง 3) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทิศทางบวกกับการทำงานเป็นทีมของ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย การประนีประนอม (X3) การยอมให้ (X5) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสงคราม โดยสามารถร่วมทำนายได้ร้อยละ 84.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สัญญา บุปผาชาติ ( 2563) ศึกษาเรื่อง การศึกษาการบริหารความขัดแย้งภายในองค์กรที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทย จำกัด สามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้ 5.2.1 ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งภายในองค์กรกรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทย จำกัด พบว่า พนักงานมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประนีประนอม (μ = 4.17) อยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจาก การจัดการกับความขัดแย้ง สามารถเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ ได้หลากหลายวิธี การประนีประนอมเป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างความต้องการทั้งสองฝ่าย มักจะใช้เมื่อไม่สามารถร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายได้จะเห็นได้ว่า การบริหารความขัดแย้งเป็นเรื่องภารกิจของผู้บริหารโดยตรง ที่จะต้อทำความเข้าใจและหาวิธีการเพื่อให้ความขัดแย้งได้รับการจัดการก่อนที่จะลุกลามใหญ่โตและสายเกินแก้ ดังนั้นจึงต้องจัดการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่ การเจรจาไกล่เกลี่ย การเจรจาต่อรองแบบสันติวิธีและสุนทรียสนทนา โดยสามารถนำไปสู่การแก้ไข และ ด้านการร่วมมือ บริษัทมีการระบุความรับผิดชอบให้กับพนักงานอย่างชัดเจน พร้อมทั้งให้อำนาจในการตัดสินใจในงานนั้น ๆ ที่พนักงานรับผิดชอบโดยผู้บังคับบัญชาไม่จำเป็นต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการจัดการความขัดแย้งของ Thomas and Kilmann (1974 อ้างถึงใน ศิริวรรณ, 2559) ได้แก่ การร่วมมือ และการประนีประนอม (Compromise) วิธีการนี้เป็นการเดินทางสายกลางระหว่างความพยายามที่จะเอาชนะและการร่วมมือบริหารความขัดแย้งที่มีแนวโน้มไปในทางยอมมากกว่าการเอาชนะ เป็นพฤติกรรมการมุ่งเอาชนะ ระดับปานกลาง และพฤติกรรมความร่วมมือในระดับปานกลางเช่นกัน โดยอยู่ในรูปแบบของการเจรจาต่อรอง ทั้งสองฝ่ายได้รับการร้องขอให้เสียสละเพื่อแลกกับสิทธิอย่างอื่นของอีกฝ่าย เป็นลักษณะพบกันครึ่งทาง โดยเป็นวิธีที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ตระหนักดีว่า ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งแต่ละฝ่ายไม่พอใจ ทั้งสองฝ่ายจะต้องคำนึงถึงความต้องการและความจำเป็นของอีกฝ่าย อนึ่งพฤติกรรมกาประนีประนอมนั้น ควรใช้เมื่อวัตถุประสงค์ของความขัดแย้งมีความสำคัญปานกลาง แต่ไม่คุ้มกับการถกเถียงต่อสู้เพื่อเอาชนะ เมื่อคู่ขัดแย้งมีอำนาจเท่าเทียมกันหรือเมื่อต้องการให้ได้แนวทางแก้ปัญหาเมื่อมีเวลาจำกัด
อภิศรา ศรีบุศยกุล (2565) ศึกษาเรื่อง การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยการสร้างความร่วมมือระหว่างคู่ขัดแย้ง เพื่อให้การปฏิบัติงานในสถานศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดมุมมองที่มีความหลากหลายต่อการปฏิบัติงาน เป็นผลให้ภารกิจของสถานศึกษา สำเร็จได้ตามเป้าหมายและลดโอกาสการเกิดความขัดแย้งของประเด็นปัญหาเดิมในอนาคต โดยสอดคล้องกับผลการศึกษาความคิดเห็นโดยส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นวิธีการที่ส่งผลทางด้านบวกต่อองค์กร ทำให้เกิดมุมมองที่มีความหลากหลายในการแก้ปัญหา และส่งผลให้มีการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อ้างอิง
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ. (2558). การศึกษาสมรรถนะที่ต้องการจำเป็นด้านการจัดการความขัดแย้งของ
ผู้บริหารในองค์กรภาครัฐ. พฤติกรรมศาสตร์ . 21(1), 1-22.
ปพัชญา แก้วชัย. (2566). แนวทางการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยนางนอน จังหวัดเชียงราย [การศึกษาอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=648008
ประกายกาญจน์ แดงมาดี. (2559). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม. [งานนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ThaiLIS.https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=97&RecId=8988&obj_id=47177&showmenu=no
พิมพ์ประภา หมีทอง. (2555). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็น
ของพนักงานครูในโรงเรียนสังกัดพัทยา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2559). ทีมงาน (Teamwork) : พลังที่สร้างความสําเร็จ. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
สัญจิตา กล้ายประยงค์. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธนบุรี). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=655667
สัญญา บุปผาชาติ. (2563). การศึกษาการบริหารความขัดแย้งภายในองค์กรที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานกรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [ศึกษาอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=602396
อภิศราศรี บุศยกุล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา. [งานนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=634260