การบริหารความขัดแย้ง 1 (งานกลุ่ม)
ธนกฤต เจียมรักษา 640132801007
ลัญจกร เกรียงคุณวุฒิ 640132801019
วริศรา เชื่อมรัมย์ 640132801030
นักศึกษาสาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ ภาค กศ.บป รุ่น 64 นำเสนองานกลุ่ม ในรูปแบบความเรียง ประกอบด้วยแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง
ความหมาย
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องณัฐณิการ์ แก้วสุธา (2563 : 33),วิชานนท์ เทียมทะนง (2564 : 37),สุฑาทิพย์ ทิพย์โสตร์ (2564 : 15)
สรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นสถานการณ์ที่คนหรือกลุ่มคนตั้งแต่ 2 ฝ่าย หรือมากว่า 2 ฝ่าย ไม่สามารถที่จะตกลงกันเพื่อหาข้อยุติได้ และต้องตัดสินใจเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการเลือกนั้นอาจเต็มใจเลือกหรือจำใจเลือกและไปขัดกับคนหรือกลุ่มคนอื่น ทำให้เกิดเป็นปริปักษ์ต่อกัน สร้างความไม่พอใจระหว่างกันได้
ประเภทของความขัดแย้ง
ณัฐณิการ์ แก้วสุธา (2563 : 33),วิชานนท์ เทียมทะนง (2564 : 10), สุฑาทิพย์ ทิพย์โสตร์ (2564 : 15)
สรุปได้ว่า ความขัดแย้งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ 1)ความขัดแย้งภายในตนเอง 2)ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
3)ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม
สาเหตุของความขัดแย้ง
ณัฐณิการ์ แก้วสุธา (2563 : 31),วิชานนท์ เทียมทะนง (2564 : 37),ณัฐณิการ์ แก้วสุธา (2563 : 31)
สรุปได้ว่า สาเหตุของความขัดแย้งเกิดจากการแข่งขันเพื่อทรัพยากร และความแตกต่างทางด้านความคิด ค่านิยม วัฒนธรรม เป้าหมาย
วิธีการทำงาน ของคนหรือกลุ่มคน ที่แตกต่างกันส่งผลให้ไม่สามารถสื่อสารเข้าใจในเรื่องเดียวกันได้
ผลของความขัดแย้ง
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2560 : 160),วิชานนท์ เทียมทะนง (2564 : 29),สุฑาทิพย์ ทิพย์โสตร์ (2564 : 27)
สรุปได้ว่า ความขัดแย้งมีทั้งผลดีและผลเสีย หากสามารถจัดการกับความขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสมก็จะส่งผลดีต่อองค์การในการทำงาน เกิดความสามัคคีขึ้นในกลุ่มบุคคล มีการยอมรับความแตกต่างกันและเกิดการประสานงานที่ดีขึ้น
การบริหารความขัดแย้ง
ณัฐณิการ์ แก้วสุธา (2563 : 47),วีระศักดิ์ พัทบุรี (2559 : 11),สุฑาทิพย์ ทิพย์โสตร์ (2564 : 28)
สรุปได้ว่า การบริหารความขัดแย้ง หมายถึง
วิธีการ หรือแนวทางในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดในองค์การของตนเองอย่างเหมาะสม หรือเป็นการเสาะแสวงหาวิธีการที่จะขจัดปัญหาหรือความขัดแย้งให้หมดไป เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน
กรณีศึกษา
จากการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้รวมเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือมีเนื้อหาในลักษณะที่ที่ใกล้เคียงกันไวพอสังเขปโดยสรุปได้ดังนี้
ณัฐณิการ์ แก้วสุธา (2563) ศึกษาเรื่อง การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก (y = .608) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4)การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขดพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
วิชานนท์ เทียมทะนง (2564) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผุ้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 32 ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขดพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมอยู่ในระดับปวนกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการร่วมมือ มีค่าเฉสี่ยสูงสุด รองลงมา คือด้านการประนีประนอม ส่วนด้านที่มีค่าเฉสี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเอาชนะ 2) ความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขดพื้นที่การศึกษามัธยมศึกมา เขต 32 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการประนีประนอม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการหลีกเลี่ยง 3) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการเอาชนะ และด้านการหลีกเสี่ยง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 5) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกมาและครูผู้สอนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 32 พบว่า
5.1) ด้านการเอาชนะ ความคิดเห็นที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ผู้บริหารมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในวิธีการของตนเอง รองลงมาคือ ผู้บริหารไม่ควรใช้อำนาจข่มขู่เพื่อเอาชนะผู้อื่น
5.2) ด้านการร่วมมือ ข้อที่มีจำนวนมากที่สุด คือผู้บริหารขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้ช่วยแก้ไขปัญหา รองลงมาคือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายร่วมแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน
5.3) ด้านการประนีประนอม ความคิดเห็นที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ผู้บริหารทำหน้าที่เป็นคนกลางในการประนีประนอม รองลงมาคือ ผู้บริหารสร้างความเป็นธรรมเพื่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย
5.4) ด้านการหลีกเลี่ยง ความคิดเห็นที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ผู้บริหารจะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดปัญหา รองลงมาคือ ผู้บริหารหลีกเลี่ยงที่จะรับรู้ปัญหาความขัดแย้ง
5.5) ด้านการยอมให้ ความคิดเห็นที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ผู้บริหารจะต้องเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รองลงมาคือ ผู้บริหารจะยอมให้ในกรณีที่ตนเองและโรงเรียนไม่เสียประ โยชน์
สุฑาทิพย์ ทิพย์โสตร์ (2564) ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีด่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริหารความขัดแย้งแบบยอมรับและแบบประนีประนอม รองลงมา คือ การบริหารความขัดแย้งแบบร่วมมือกันและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การบริหารความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง 2) ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความรู้สึกรับผิดขอบ รองลงมา คือ ด้านความรู้สึกพึงพอใจในการทำงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน และ 3) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างต่ำ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การบริหารความขัตแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู อันตับสูงสุด คือ การบริหารความขัดแย้งแบบยอมรับและแบบประนีประนอม รองลงมา คือ การบริหารความขัดแย้งแบบร่วมมือกัน และอันตับต่ำสุด คือ การบริหารความขัดแย้งแบบเอาชนะ
เอกสารการอ้างอิง
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560). เหตุแห่งความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ : สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อพัฒนาการ.
เขมิกา โกธีรวัฒนานนท์. (2561). ความขัดแย้งคือ. ชลบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐณิการ์ แก้วสุธา. (2563). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. [งานนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=601882
วิชานนท์ เทียมทะนง. (2564). พฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผุ้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 32. [งานนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์]. Thai6 LIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=584975
สุฑาทิพย์ ทิพย์โสตร์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. [งานนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=648152
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการบริหารความขัดแย้ง ปีการศึกษา 3/2566 ภาค กศ.บป