

บทความวิจัย : ผลงานวิชาการ คณาจารย์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต [รป.ม.]
บทความวิจัย : ผลงานวิชาการ คณาจารย์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต [รป.ม.] เรื่อง “เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชนในเขตเทศบาล ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์” อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารมหาจุฬาคชสาร ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (2023): มกราคม – มิถุนายน 2566
บทความวิจัย ผลงานวิชาการอาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) เรื่อง “เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชนในเขตเทศบาล ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์” โดย อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.)
- สถาพร วิชัยรัมย์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.)
- ประชัน คะเนวัน (รองศาสตราจารย์)
และอาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) โดย
- สากล พรหมสถิตย์ (อาจารย์)
- รชต อุบลเลิศ (อาจารย์ ดร.)
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยเขตเทศบาลตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 383 คน โดยใช้การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะตรวจสอบรายการและประมาณค่ามาตราส่วน 6 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า
-
- ระดับการมีส่วนร่วมการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 3.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ด้านการวางแผนดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนนอกนั้นอยู่ในระดับน้อย โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ( = 3.69) รองลงมา คือ ด้านการวางแผนดำเนินกิจกรรม ( =3.55) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการติดตามผลและประเมินผลงาน ( =3.23) ตามลำดับ
- เปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลต่อการมีส่วนร่วมการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าเมื่อจำแนกตามอายุและการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านเพศ สถานภาพการสมรสและอาชีพ ไม่มีความแตกต่างกัน
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม, การจัดการขยะชุมชน, เทศบาลตำบล