

ผลงานนักศึกษา : รัฐประศาสนศาสตร์ในศตวรรษที่ 21
(1) พัชลิดา ยานิตย์ (คลิก), (2) รัตติยา งวดสูงเนิน (คลิก), (3) ภัทรีพร ผ่องแผ้ว (คลิก), (4) กวินนา นุ้ยโหน่ง (คลิก),
ผลงานนักศึกษา : รัฐประศาสนศาสตร์เพื่อการจัดการปกครองสาธารณะในศตวรรษที่ 21 โดย พัชลิดา ยานิตย์ (2) รัตติยา งวดสูงเนิน (3) ภัทรีพร ผ่องแผ้ว (4) กวินนา นุ้ยโหน่ง นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 หมู่ที่ 1 สร้างสื่อประกอบเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยใช้โปรแกรมกูเกิลเอกสารในรายวิชา เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
การบริหารภาครัฐในชีวิตประจำวัน
รัฐ คือ ชุมชนทางการเมืองที่มีอำนาจและความชอบธรรมในการปกครองเหนือผู้คนและทรัพยากรของดินแดนใดดินแดนหนึ่ง และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ รัฐมีรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อันชอบธรรมเพื่อสร้างความปรกติสุขและให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนรัฐบาลสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้ด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐ กิจกรรมทุกอย่างของเราล้วนเกี่ยวเนื่องและได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงจำเป็นต้องมีหลักการหรือแนวทางบางอย่างไว้คอยกำกับ ควบคุม และชี้นำการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ
การบริหารภาครัฐ หมายถึง กระบวนการดำเนินกิจกรรมทั้งหลายของภาครัฐ องค์การภาครัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการกำหนดและดำเนินนโยบายสาธารณะ การให้บริการสาธารณะ และการบังคับใช้กฎหมายให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป้าหมายของการบริหารภครัฐคือเพื่ออำนวยความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม เพื่อการรับประกันและส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในฐานะผู้มีสิทธิการออกเสียงเลือกตั้งและองค์รัฏฐาธิปัตย์ และเพื่อในการนำนโยบายไปปฏิบัติและดำเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐมีประสิทธิภาพ แม้ว่าการบริหารภาครัฐนั้นมีมาตั้งแต่มนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคมชนเผ่าแต่การบริหารงานภาครัฐสมัยใหม่ตามความหมายที่เรารู้จักในปัจจุบันนี้ เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกา ในช่วงรอยต่อระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 หรือในราวร้อยกว่าปีนี้เอง
แม้ว่าการบริหารภาครัฐจะมีกระบวนการหลายประการเหมือนการบริหารเรื่องอื่นๆ แต่การบริหารภาครัฐมีคุณสมบัติหลายประการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ การบริหารภาครัฐแตกต่างจากการบริหารภาคเอกชนใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ การบริหารภาครัฐมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ การบริหารภาครัฐมีกลไกการตัดสินใจที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก และการบริหารภาครัฐถูกตรวจสอบโดยสาธารณชนอย่างเข้มข้น การบริหารภาครัฐมีคุณสมบัติเด่น 3 ประการ คือ ความเป็นสหวิทยาการ ความเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และความเป็นวิชาชีพ
ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นเราจึงสรุปได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์ (Publilic administration) คือ วิชาที่ว่าด้วยการนำแนวคิด ทฤษฎี และวิธีการทางการเมืองทางการจัดการ และทางกฎหมายมาใช้ในการบริหารจัดการองค์การ นโยบาย กิจการ และทรัพยากรสาธารณะให้ประสบผลสำเร็จ รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นสาขาวิชาที่มุ่งศึกษาวิเคราะห์ ตีความ หาความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการบริหารภาครัฐในแง่มุมต่างๆ และประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการบริหารภาครัฐอันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ แนวคิดและทฤษฏีของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ก่อกำเนิดและมีพัฒนาการขึ้นบนฐานความรู้ของศาสตร์อื่นๆ จำนวนมาก นับตั้งแต่วิทยาศาสตร์สังคมไปจนถึงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
แม้การบริหารภาครัฐจะมีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี แต่รัฐประศาสนศาสตร์ถือเป็นสาขาวิชาที่ใหม่มากเมื่อเทียบกับสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวแก่รัฐหรือสาธารณะไม่ว่าจะเป็น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการถือกันโดยทั่วไปว่า จุดกำเนิดของรัฐประศาสนศาสตร์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อวูดโรว์ วิลสัน เขียนบทความเรื่อง The Study of Administration ในปี ค.ศ. 1887 สำหรับประเทศไทย เริ่มมีการจัดการเรียนการสอนทางด้านรัฐประศาสศาสตร์ ขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัฐประศาสนศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน
การบริหารภาครัฐแบบดั้งเดิม
การบริหารภาครัฐแบบดั้งเดิมเป็นการบริหารที่มุ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะเป็นหลัก ประกอบด้วยสามแนวคิดหรือทฤษฎีหลัก คือ ทฤษฎีแยกการเมืองจากการบริหาร ทฤษฎีระบบราชการ และทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ การแยกการเมืองออกจากการบริหาร หมายถึง แนวคิดที่ว่าบทบาทของนักการเมืองกับบทบาทของข้าราชการต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อให้การดำเนินนโยบายและการบริหารภาครัฐเป็นไปอย่างสัมฤทธิ์ผล นักการเมืองหรือฝ่ายการเมืองมีหน้าที่กำหนดนโยบาย เพราะเป็นเรื่องของค่านิยม ในขณะที่ข้าราชการหรือฝ่ายบริหารมีหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติ เพราะเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและหลักการ ระบบราชการ หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับไว้อย่างแน่นอน มีหลักการสำคุญหกประการ คือ หลักอำนาจตามกฎหมาย หลักดำดับชั้นการบังคับบัญชา หลักการรักษาเอกสาร หลักการแบ่งงานกันทำและความชำนาญเฉพาะทาง หลักความเป็นวิชาชีพและหลักกรอบการทำงานที่เป็นทางการและความชำนาญเฉพาะทาง หลักความเป็นวิชาชีพ และหลักกรอบที่เป็นทางการและกฎเกณฑ์ตายตัว การจัดแบบวิทยาศาสตร์ หมายถึง การแสวงหาวิธีปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แทนการปฏิบัติงานแทนความเคยชิน
ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย มีการปฏิรูปโครงสร้างภาครัฐตามแนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิมตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อระบบราชการภายใต้แนวคิดที่ได้ดำเนินมาช่วงปี ค.ศ. 1950-1960 จุดอ่อนของแนวคิดนี้ก็ปรากฏให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นชนวนให้เกิดการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ทั่วโลกในเวลาต่อมา
การจัดการภาครัฐแนวใหม่
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (new public managent ) คือ การประยุกต์ใช้แนวคิดของการจัดการภาคเอกชนมาปรับใช้ในการบริหารภาครัฐ เพื่อมุ่งแก้ปัญหาความ ไร้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงค์การภาครัฐที่ให้บริการสาธารณะตามทฤฎีการ บริหารภาครัฐรัฐแบบดั้งเดิม ลักษณะบริหารภาครัฐตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ได้แก่ การจัดการโดยใช้มืออาชีพที่มีประสบการณ์ มาตฐานและ การวัดประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน การมุ่งเน้นการควบคุมผลผลิต การสลายองค์การภาครัฐให้เป็นหน่วยย่อย วินัยทางการคลังและการใช้ทรัพยากรอย่างระมัดระวัง และการมุ่งเน้นการแข่งขัน เป็นต้น อย่างไรก็ดี การจัดการภาครัฐแนวใหม่มีข้อจำกัดตรงที่มองประชาชนเป็นเพียงลูกค้า จึงนำไปสู่ปัญหาความพร้อมรับผิดชอบ
การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่และการบริการสาธารณะแนวใหม่
การจัดการปกครอง (governance) คือ กระบวนการในการกำหนดแนวทางและบริหารจัดการกิจการสาธารณะ โดยภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคที่สาม และหรือภาคประชาสังคม ทั้งในแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐในศตวรรษที่ 21 จำต้องพึ่งพาองค์การอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมาย เพื่อนำนโยบายไปปฏิบัติและเพื่อกำหนดกฎระเบียบต่างๆ ภายใต้แนวคิดนี้ หน่วยงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติได้กำหนดสิ่งที่เรียกว่าการจัดการปกครองที่ดี (good governance) อันหมายถึง บรรทัดฐานที่กำหนดขึ้นโดยรัฐบาลหรือองค์การ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจและถือปฏิบัติในการให้บริการสาธารณะ บรรทัดฐานเหล่านี้ช่วยชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐและบุคลากรภาครัฐจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไร จึงจะถือว่าพึงประสงค์ในสังคม นอกจากนั้น ในระยะที่ผ่านมา ยังปรากฏแนวคิดที่เรียกว่า การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (new public governance: NPG) อันเป็นแนวคิดที่มุ่งสร้างความเข้าใจและสะท้อนภาพของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติและการส่งมอบบริการสาธารณะในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกและเน้นความสัมพันธ์ระหว่างองค์การภาครัฐกับองค์การภาคอื่น ๆ การจัดการปกครองถือเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญทั้งในการบริหารภาครัฐและวงวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบัน
การบริการสาธารณะแนวใหม่ (new public service: NPS) คือ บรรทัดฐานและแนวปฏิบัติทางการบริหารภาครัฐที่เน้นความสำคัญของหลักการประชาธิปไตยและความเป็นพลเมือง แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ถือกำเนิดขึ้นในต้นยุค 2000 ในเวลาไล่เลี่ยกับแนวคิดการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ เพื่อตอบโต้หรือแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องการจัดการภาครัฐแนวใหม่ จุดเน้นของการบริการสาธารณะแนวใหม่ ประกอบด้วย การให้บริการประชาชนไม่ใช่ให้บริการลูกค้า การแสวงหาประโยชน์สาธารณะ การเชิดชูความเป็นพลเมืองเหนือกว่าความเป็นผู้ประกอบการ การคิดอย่างมียุทธศาสตร์และทำอย่างเป็นประชาธิปไตย การให้บริการแทนการถือหางเสือ และเชิดชูคนเหนือกว่าผลิตภาพ ในทำนองเดียวกันกับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ หลักการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการสาธารณะแนวใหม่ ได้รับความสนใจและนำไปประยุกต์ใช้มากขึ้นในระยะหนึ่งถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา
รัฐบาลกับการจัดทำบริการสาธารณะ
เมื่อพิจารณาจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หรือการคลังสาธารณะเราเห็นแล้วว่ามีสถานการณ์หรือปัญหาหลายประการที่ไม่อาจปล่อยให้พลเมืองหรือเอกชนดำเนินการได้ และเป็นสาเหตุให้รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงด้วยการกำหนดนโบาย ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฟติกรรมของพลเมืองในฐานะผู้บริโภค และบริษัทเอกชนฐานผู้ผลิต ในบางครั้ง รัฐบาลก็จำเป็นต้องผลิตสินค้าและบริการเสียเอง เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากร ภายในประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การกระจายรายได้มีความเป็นธรรมและเพื่อพัฒนาและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
การบริหารภาครัฐกับนโยบายสาธารณะ
นโยบายสาธารณะ (public policy) หมายถึง กิจกรรม การกระทำ แนวทางการเลือกตัดสินใจของรัฐบาลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ชัดเจน ประกอบด้วยชุดหรือแบบแผนการกระทำที่ต่อเนื่องกัน เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้อง เกี่ยวข้องกับสิ่งที่รัฐบาลกระทำจริงๆ และอาจเป็นได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายหรืออำนาจที่ชอบธรรม กระบวนการนโยบายสาธารณะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ที่มีลักษณะวนรอบเป็นวงจรที่เรียกว่า วงจรนโยบายสาธารณะ (public policy cycle) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 5 ขั้นตอน คือ การก่อตัวนโยบาย การกำหนดนโยบาย การตัดสินนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบาย
การถือกำเนิดขึ้นและความสำเร็จของนโยบายสาธารณะใดๆ ขึ้นอยู่กับบริบทหรือสภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การจัดการปกครอง ประชากร ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเทคโนโลยี ตัวแบบนโยบายสาธารณะ เป็นเครื่องมือในการวิเคราหืนโยบายสาธารณะในเชิงพรรณนาโดยอาศัยกรอบการวิเคราห์และประเด็นที่กำหนดไว้ เพื่อทำให้อธิบายที่มาและกระบวนการของการนโยบายสาธารณะต่างๆ ในโลกความเป็นจริงได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ตัวแบบต่างๆ อาจจำแนกตามกระบวนทัศน์หลักเป็น 3 กลุ่มคือ กระบวนทัศน์แบบยืดถือแนวเดิม กระบวนทัศน์แบบเหตุผลนิยม และกระบวนทัศน์แบบวางแผนกลยุทธ
การจัดการองค์การภาครัฐ
องค์การ (organization) หมายถึง การรวมตัวกันของคนสองครขึ้นไปเพื่อ ปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ องค์การมีองค์ประกอบหลักสี่ประการ คือ เป้าหมาย คน โครงสร้าง และเทคโนโลยีและสารสนเทศ นอกจากนี้ องค์การยังสามารถ จำแนกออกเป็นสามประเภท คือ องค์การภาครัฐ องค์การภาคธุรกิจ และองค์การอาสาสมัคร ทั้งนี้ การบริหารองค์การภาครัฐกับองค์การภาคธุรกิจมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเป้าหมาย องค์การภาครัฐในประเมศไทย ประกอบด้วย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์อิสระตามรัฐธรรมนูญ และมหาวิทยาลัยใน กำกับของรัฐ ในปัจจุบัน นอกจากองค์ภาครัฐจะเป็นผู้ให้บริการสาธารณะหลักแล้ว องค์ภาคเอกชนและองค์การภาคอาสาสมัครยังมีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย ในการจัดการองค์การต่าง ๆ นั้น จำเป็นจะต้องมีหลักการรองรับ ทฤษฎีองค์การ (organization theories) หมายถึง แนวคิด หลักการ หรือข้อสมมติฐานที่มุ่งบรรยายอธิบายหรือทำนายวิธีบริหารจัดการองค์การให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ เราสามารถจำแนกทฤษฎีการจัดการเป็น 3 ยุคหรือกลุ่มแนวคิดตามพัฒนาการ ได้แก่ แนวคิดดั้งเดิม แนวเชิงพฤติกรรม และแนวคิดร่วมสมัย
ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ (intergovernmeental relations: IGR) หมายถึง กิจกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ทั้งหลายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยการปกครองและหน่วยงานของรัฐทุกประเภทและทุกระดับ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการกำหนดนโยบายและการจัดทำบริการสาธารณะ รัฐเดี่ยวมีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐที่ซับซ้อนน้อยกว่ารัฐรวม เนื่องจากอำนาจหน้าที่ส่วนใหญ่อยู่กับรัฐบาลแห่งชาติ แต่เมื่อประเทศต่างๆ นำแนวคิดการกระจายอำนาจไปใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐและทำให้เกิดจำนวนชั้นรัฐบาลมากขึ้น ความสัมพันธ์หน่วยงานของรัฐก็มีความซับซ้อนมากขึ้นไปด้วย ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นแาจมีทั้งความสัมพันธ์แนวดิ่ง ความสัมพันธ์แนวราบ ความสัมพันธ์ตามภาคส่วน ความสัมพันธ์ทางกระบวนการยุติธรรมและความสัมพันธ์นอกประเทศ เดิมทีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐในประเทศไทยมีลักษณะสั่งการตามแนวดิ่งเช่นเดียวกับรัฐเดี่ยวแบบรวมอำนาจทั่วไป แต่เมื่อมีการกระจายอำนาจในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ก็มีความซับซ้อนกันมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารภาครัฐและสถานการณ์ของโลก
การคลังและงบประมาณภาครัฐ
การคลังภาครัฐ คือ การศึกษาบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระะบบเศรษฐกิจ เพื่อจัดสรรสรรพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมในทางเศรษฐกิจ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องรายรับภาครัฐ รายจ่ายภาครัฐ หนี้สาธารณะ การบริหารการคลัง และการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาลจะใช้นโบบายการคลัง นโยบายการเงิน และนโยบายกึ่งการคลัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ การใช้นโยบายการคลัง รัฐบาลจะต้องดำเนินการผ่านงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นแผนการใช้จ่ายเงินในการดำเนินงานในช่วงเวลาหนึ่งของรัฐบาลที่เสนอต่อรัฐสภา และการควบคุมงบประมาณ
การจัดทำงบประมาณแผ่นดินต้องคำนึงถึงรายจ่ายและรายรับภาครัฐเสมอ รายจ่ายภาครัฐสามารถจำแนวเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ตามหน้าที่ของรัฐบาลหรือลัษณะงาน ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล หรือตามประเภทการใช้จ่ายเงินก็ได้ สำหรับรายรับภาครัฐโดยทั่วไป รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ มีรายรับจากแหล่งสำคัญคือ ภาษีอากรค่าบริการและค่าธรรมเนียม และการกู้ยืม โดยภาษีอากรเป็นแหล่งรายรับที่สำคัญที่สุดในการจัดเก็บและบริหารภาษีอากรต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญ 8 ประการ คือ ความเป็นธรรม ความรับผิดชอบทางการเมือง ความพอเพียงพอ ความสะดวกในการบริหาร ประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ความโปร่งใส และความยืดหยุ่น
อนาคตของการบริหารภาครัฐ
การบริหารภาครัฐเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงหลังตาย แนวคิด หลักการ และทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารภาครัฐ จึงมีความสำคัญอย่างมาก การประยุกต์ใช้แนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางการบริหารภาครัฐที่สอดคล้องกับลักษณะพลวัตของโลกแลล VUCA จึงเป็นหลักการที่สำคัญเพื่อมิให้ชีวิตพลเมืองแย่ลง ยิ่งภายใต้สถานการณ์ของโลกอันพลิกผันปั่นป่วนอย่างรุนแรง-ดังเช่นภายใต้การแพร่ระบาดและผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งทำให้ภาคเอกชนภาคอาสาสมัครและภาคประชาชน สูญสิ้นทรัพยากรทางการบริหารและอ่อนแออย่างไม่เคยมีมาก่อน-รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐยิ่งต้องมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องการรัฐอยู่ ตราบนั้นยังคงมีการบริหารภาครัฐ แต่การบริหารภาครัฐในอนาคตอาจดูผิดแผกแตกต่างจากการบริหารภาครัฐที่เราพบเห็นกันอยู่ในยุคปัจจุบันไปโดยสิ้นเชิงก็ได้
ผู้เขียนเขียนหนังสือเล่มนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแนะนำให้ผู้ที่กำลังศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารภาครัฐและผู้อ่านโดยทั่วไป เข้าใจภาพรวมของการบริหารภาครัฐและสาขาวิชาที่เรียกว่ารัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบัน ฉะนั้น หนังสือเล่มนี้จึงทำหน้าที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการเดินทางเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในการบริหารภาครัฐ มิใช่จุดหมายตาและมิใช่ปลายทาง ส่วนการแสวงหาจุดหมายตาและปลายทาง โดยเฉพาะจุดหมายตาและปลายทางในอนาคตนั้น เป็นหน้าที่ของผู้อ่านและของเราทุกคน เพราะเราไม่ควรที่จะปล่อยให้การบริหารภาครัฐและการบริการสาธารณะอยู่ในความรับผิดชอบของภาครัฐตามลำพัง
อ้างอิง
- กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์. (2564). รัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิดเพื่อการจัดการปกครองสาธารณะในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น : วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ที่เกี่ยวข้อง
- โครงการการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงานและการเขียนหนังสือราชการ
- ปฐมนิเทศก่อนฝึกประสบการณ์ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
- เตรียมฝึกประสบการณ์
- Sites63
ติดตามข่าวสารอื่นๆ