

ผลงานนักศึกษา : ประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์
(คลิก) กิตติยา พูลสวัสดิ์, (คลิก) อัจฉราพร ประสงค์สุข
630112801069@bru.ac.th,630112801098@bru.ac.th
ผลงานนักศึกษา : ประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์ จัดทำโดย (1) กิตติยา พูลสวัสดิ์ (2) อัจฉราพร ประสงค์สุข นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ชั้นปี4 สร้างสื่อประกอบเนื้อหาเกี่ยวกับประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์โดยใช้โปรแกรมกูเกิ้ลด็อก ในรายวิชา เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

อัจฉราพร, กิตติยา
การเมืองและการบริหาร
ความหมาย ความสำคัญของการเมืองและการบริหาร การเมือง หมายถึง รัฐ โดยมี “รัฐบาล” เป็นผู้แทนในการทำหน้าที่ของรัฐ และเป็นเรื่องที่ว่าด้วยเรื่อง อำนาจ ผลประโยชน์ และการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม การบริหาร หมายถึง ระบบราชการ และ “กลไก” ของระบบราชการ การเมืองและการบริหารมีความสัมพันธ์กันในเรื่อง คน งาน เงิน ผ่านรัฐบาล และระบบราชการ นอกจากนี้การเมืองยังมีเรื่องของการบริหารในฐานะที่เป็นกลไกเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ในขณะเดียวกันการบริหารที่เป็นกลไกของระบบราชการก็มีการเมืองที่เป็นอำนาจ ผลประโยชน์ และการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
กระบวนทัศน์การแยกการบริหารออกจากการเมือง โดยหลักการคือ การกำหนดนโยบาย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางการเมืองเท่านั้น ส่วนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ควรอยู่ในขอบข่ายของระบบราชการที่ปราศจากความเป็นการเมือง และการเมืองไม่ควรแทรกแซงการบริหาร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มมีความท้าทายกระบวนทัศน์การบริหารแยกออกจากการเมือง เกิดกระบวนทัศน์ที่ว่าการบริหารคือการเมือง การเมืองและค่านิยมเป็นปัจจัยภายนอกที่ละเมิดหรือรุกล้ำการบริหารงานภาครัฐ
ปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารในการแต่งตั้งโยกย้าย คือ ฝ่ายการเมืองแทรกแซงการแต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการ โดยไม่ได้คำนึงหรือยึดโยงกับหลักคุณธรรม ปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างทางการเมืองและการบริหารในกระบวนการนโยบาย คือ ฝ่ายการเมืองแทรกแซงการนำนโยบายไปปฏิบัติของข้าราชการในขอบเขตแห่งอำนาจที่ว่าด้วยเรื่องการตัดสินใจของข้าราชการ นอกจากนี้ เนื้อหาสาระของนโยบายประเภทประชานิยมก็มีส่วนที่เอื้อให้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซงการทำงานของข้าราชการเช่นกัน
การบริหารรัฐกิจกับกฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน หรือคู่กรณีที่
สถานะไม่เท่าเทียมกัน โดยรัฐเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองประโยชน์สาธารณะซึ่งต่างกับเอกชนซึ่งต่างกับซึ่ง
มุ่งรักษาประโยชนส่วนตัว โดยมีกฎหมายปกครองเป็นลาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างของฝ่ายปกครอง การบริการสาธารณะ และการควบคุมฝ่ายปกครอง
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พุทธศักราช 2539 เป็นกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองที่กำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อวางลำดับขั้นตอนและกลไกควบคุมทั้งก่อนออกคำสั่งทางปกครองและหลังออกคำสั่งทางปกครอง เพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม รวมทั้งเกิดประสิทธิภาพในการบริหารกิจการบ้านเมืองโดยเงื่อนไขตามแบบพิธี และเงื่อนไขทางเนื้อหา คำสั่งทางปกครองที่ต้องมีสภาพบังคับให้เกิดผล จำเป็นต้องมีสภาพบังคับให้เกิดผลจริงๆ โดยจะเป็นคำสั่งที่มีเนื้อหาบังคับให้ผู้อยู่ในดำสั่งหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหรือห้ามปฏิบัติ หากไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งก็เป็นต้องมีการบังดับ โดยเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่จัดให้มีคำสั่ง เป็นผู้ดำเนินการบังคับ ซึ่งได้แก่ การบังคับให้ชำระเงิน เช่น หน่วยราชการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของตนชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิดหน่วยงาน หรือคำสั่งให้กระทำหรือ ละเว้นกระทำ
พัฒนาการและเทคนิคการบริหารรัฐกิจ
พัฒนาการของเทคนิคการบริหารรัฐกิจเกิดมาพร้อมๆ กับการพัฒนาการของทฤษฎี แนวคิดหลักการทางด้านการบริหารโดยเทคนิคการบริหารเป็นศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะที่เป็นวิธีการที่การบริหารไปสู่ความสำเร็จ เทคนิคบริหารเป็นสิ่งที่สร้างเสริม ปรับปรุง และเกิดขึ้นใหม่ได้
เทคนิดการดำเนินงานในการบริหารรัฐกิจมีหลากหลายชนิด สำหรับเทคนิคการบริหารที่สำคัญ
ในปัจจุบันได้แก่ การวางแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารรัฐกิจ การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
เทคนิคการงบประมาณในการบริหารรัฐกิจสำคัญที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่ การจัดทำงบประมาณ
แบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ระบบงบประมาณแบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบการบริหาร
การเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์
เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำคัญที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่ การบริหารทุนมนุษย์ การบริหาร
ทรัพยากรบุคคลตามระบบประเภทตำแหน่ง และระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม
การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ภาครัฐและการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
การทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด ความหมาย วัตถุประสงค์ หลักการและระบบที่ใช้ในการบริหารทรัพยารนุษย์ภาครัฐ ซึ่งรวมถึงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในหน่วยงานภาครัฐ ทรัพยากรมนุษย์จัดว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ จึงต้องมีกระบวนการในการดำเนินการ โดยเนันหลักของระบบคุณธรรม และมีผู้รับผิดชอบชัดเจน
การพิทักษ์ระบบคุณธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด วัตถุประสงค์ และในหลักการพิทักษ์ระบบคุณธรรม การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐจำเป็นต้องมีรูปแบบขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครอง ดูแลและพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้แก่ทรัพยากรมนุษย์และระบบการบริหารภาครัฐ ดังที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค ) เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์ระบบคุณธรรมแก่ข้าราชการพลเรือน
การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและแนวโน้มของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและควรจะได้มีการมุ่งเน้นพัฒนา ได้แก่ การมียุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรมนุษย์ และการมีกลไกตรวจสอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้อยู่บนพื้นฐานของระบบคุณธรรม เป็นตัน ส่วนปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรดที่ควรหาทางแก้ไขปรับปรุงได้แก่ การก้าวก่ายเพื่อประโยชน์ของฝ่ายการเมืองและการที่ผู้บริหาระดับสูงภาครัฐไม่ให้ความสำคัญต่อแผนยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรมนุษย์และละเลยไม่ยึดมั่นในหลักของระบบคุณธรรม เป็นต้น
การบริหารการเงินการคลัง
บริหารการเงินการคลังภาครัฐ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารการเงินในภาครัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ การบริหารการเงินการคลังของรัฐบาล ประกอบด้วยการบริหารเงินในงบประมาณและการบริหารเงินนอกงบประมาณ เงินในงบประมาณประกอบด้วยเงินรายได้แผ่นดิน เงินงบประมาณราจ่ายประจำปี และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ส่วนเงินนอกงบประมาณเป็นเงินประเภทอื่น ๆ ที่รัฐบาลมีอยู่นอกเหนือจากเงินใยงบประมาณ ได้แก่ การบริหารการเงินการคลังภาครัฐในปัจจุบันได้พัฒนาเข้าสู่ระบบอิเล็กทอนิกส์เต็มรูปแบบ เพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง รวดเร็ว ใช้ในการบริหารและตัดสินใจได้ทันเหตุการณ์ นอกจากนี้ เงินที่รัฐได้รับไม่ว่าจะเป็นเนในหรือนอกงบประมาณจะต้องนำส่งเข้าบัญชีเงินคงคลังที่ 1 และจ่ายออกจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2 โดยจะต้องมีการบริหาการรับจ่ายเพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างเพียงพอทุกช่วงเวลา เรียกว่า การบริหารเงินคงคลัง
การบริหารเงินบประมาณ เป็นเรื่องเกี่ยวกับรายได้แผ่นดิน งบประมาณรายจ่ายและนโยบายงบประมาณ ว่าจะใช้แบบสมดุล เกินดุลหรือขาดตุลงบประมาณ ปัญหาที่เกิดขึ้นด้านรายรับมีทั้งนโยบายภาษีอากร การวางระบบการจัดเก็บและติดตามภาษีให้รวดเร็ว คล่องตัวและเป็นธรรม และค้านรายจ่าย คือ การควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใส และมีการใช้เงินอย่างคุ้มค่า ปราศจากการทุจริตทั้งทางนโยบายและทางปฏิบัติ
การบริหารเงินนอกงบประมาณ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารเงินที่ส่วนราชการ ที่รัฐบาลได้
รับมาโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เงินนอกงบประมาณส่วนใหญ่อยู่ในอำนาจการบริหารและกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ยกเว้นเงินที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารเงินประเภทนั้น ๆ โดยปกติการใช้เงินนอกงบประมาณไม่ต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภา มีขั้นตอนการบริหารจัดการเหมือนธุรกิจเอกชน จึงมีความคล่องตัวสูง ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้จ่ายเสมือนหัวหน้าส่วนราชการเป็นเจ้าของเงิน จึงไม่ประหยัด และขาดวินัยการคลัง รวมถึงความไม่โปรงใสในการใช้จ่ายเงิน
การบริหารพัสดุ
การบริหารพัสดุภาครัฐของประเทศไทย จะเริ่มต้นตั้งแต่การจัดหา การควบคุม จำหน่ายพัสดุ ดังนั้นแนวคิดในการบริหารพัสดุของประเทศไทย จะประกอบด้วยแนวคิดในการจัดหาพัสดุ การควบคุมพัสดุ และการจำหน่ายพัสดุ
ปัญหาสำคัญของการบริหารพัสดุ ประกอบด้วย ปัญหาเกี่ยวกับจัดหาพัสดุ ไม่ครบถ้วน ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมพัสดุ และปัญหาเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุ แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิกาพในกาบริหารพัสดุ จะต้องมีการจัดหาให้ได้พัสดุที่ดี มีคุณภาพ โดยผู้ประกอบการที่รับผิดชอบ มีการควบคุมและจำหน่ายพัสดุที่ดี เพื่อให้การบริหารพัสดุเกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่การประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดหาพัสดุ มีความคุ้มค่าในการใช้งาน และพัสดุที่หมดความจำเป็นในการใช้งานยังสามารถจำหน่ายได้ราคา หรือยังเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานอื่นได้ เพื่อลดภาระในการจัดหาที่เก็บ และมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเริ่มต้นวงจรใหม่เพื่อประกอบการจัดหาครั้งต่อไป
การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมและจรรยาวิชาชีพบริหารรัฐกิจ
การเสริมสร้างจริยธรรมในทุกระดับขององค์การ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์การที่เน้นความรับผิดชอบต่อสังคมและความโปร่งใสตรวจสอบได้ขององค์การ
จริยธรรมในองค์การจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการบริหารจัดการจริยธรรมในองค์การอย่างเป็นระบบในองค์การนั้น
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการเสริมสร้างจริยธรรมในองค์การมีอยู่มากมายและเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การเสริมสร้างจริยธรรมจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานทางจริยธรรมประกอบด้วยมโนทัศน์และหลักการเกี่ยวกับจริยธรรมที่หลากหลาย
คุณธรรมและจรรยาวิชาชีพเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากสำหรับผู้บริหาร ทั้งนี้เนื่องจากคุณธรรมและจรรยาวิชาชีพเป็นสิ่งที่พึงยึดถือปฏิบัติไม่ใช่เพียงเรียนรู้เท่านั้น ดังนั้นผู้บริหารจึงควรจะต้องเพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม และรักษาจรรยาวิชาชีพโดยเคร่งครัดเป็นพิเศษ
การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบเป็นความพยายามที่จะนำเอาโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมของระบบของหน่วยงานภาครัฐ ระบบหน่วยราชการ และระบบข้าราชการมาเปรียบเทียบกัน เพื่อให้เห็นความคล้ายคลึงและความแตกต่างกัน ทั้งเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่ และระดับ ของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมที่อยู่ในวัฒนธรรมหรือระบบที่แตกต่างกัน และที่คล้ายคลึงกัน รวมถึงการเปรียบเทียบแบบจำลองทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัย การเปรียบเทียบนั้นอาจจะเปรียบเทียบของประเทศ/วัฒนธรรมหนึ่งกับอีกประเทศ/อีกวัฒนธรรมหนึ่งหรือระหว่างหลาย ประเทศ หลายวัฒนธรรมก็ได้ ความรู้สำหรับการศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบเป็นศาสตร์ ที่พัฒนาแนวคิดมาจากแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ ใหม่ ๆ โดยอาศัยความรู้จากกลุ่มวิซาหรือศาสตร์อื่นๆ ได้แก่ การปกครองเปรียบเทียบ ความรู้ เรื่องพฤดิกรรมการบริหารทั่วไป ได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยา การสื่อสาร และบริหารการพัฒนา
พัฒนาการของการศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบจะเน้นที่จุดกำหนด การเจริญเติบโต ความ เสื่อม และการฟื้นตัวกลับมาของวิชาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ โดยแบ่งช่วงเวลาในการศึกษา ออกเป็น 2 ช่วง คือ การศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบก่อน ค.ศ. 1974 และการศึกษาการ บริหารรัฐกิจเปรียบเทียบหลัง ค.ศ. 1974 ปัญหาของการศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบที่ เกิดขึ้นพบว่า ไม่สามารถที่จะศึกษาเปรียบเทียบระบบบริหารโดยศึกษาถึงระบบบริหารทั้งหมดได้ดพราะมีขอบเขตในการศึกษากว้างขวางจนเกินไป แต่ควรที่จะมีหลาย ๆ วิธีการโดยให้โอกาสแก่ผู้ที่ศึกษาเลือกใช้วิธีการที่ตรงกับวัถุประสงค์ในการศึกษาแบะเหมาะสมกับสถาณการณืโดยทั่ว ๆ ไปของประเทศที่จะนำมาปรึกษาเปรี่ยบเทียบนั้น ๆ
การศึกษาบริหารรัฐกิจเปรี่ยบเทียบจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับระบบการบริหารภาครัฐของแต่ละประเทศเพื่อทำความเข้าใจต่อสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ เข้าใจปัญหาของระบบราชการ แรงกดดัน และความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงการบริหารภาครัฐแนวทางดั้งเดิมในที่สุดจึงเกิดกระบวนการปฏิรูปการจัดการภาครัฐ ตามกาลเวลาเปลี่ยนไปและสภาแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย การปฏิรูประบบราชการมีหลากหลายวิธีและแต่ละประเทศจะมีจุดเน้นของตนเอง จึงต้องศึกษาเปรี่ยนเทียบและต้องมองย้อนกลับไปพัฒนาสมรรถนะพื้นฐานการจัดการของตนเอง
การวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจ
ปัญหา อุปสรรค หรือสิ่งที่เกิดขึ้นและเบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเป็น นับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับ มนุษย์ทุกๆ คน หรือมนุษย์ทุกรูปทุกนาม บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิดจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ และทักษะในการศึกษา วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือที่ได้พบในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องหรือเหมาะสมที่สุด
การตัดสินใจ คือ กระบวนการศึกษา วิเคราะห์ และเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดจากบรรดาทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ การตัดสินใจ เป็นการกระทำหรือพฤติกรรมที่มนุษย์ต้องกระทำหรือตัดสินใจเพื่อเลือกทางเลือกอยู่เกือบจะตลอดเวลา บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ และทักษะในการศึกษาวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดได้อย่างถูกต้อง
การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการศึกษา วิเคราะห์ และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดของมนุษย์มีข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของตัวมนุษย์เองหรือของตัวบุคคลหลาย ๆ ประการ แนวทางในการพัฒนาการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจของบุดคล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นบัณฑิตก็มีหลายๆ แนวทางด้วย
การพัฒนาภาวะผู้นำ
หากพิจารณาผู้นำไม่ว่าในลักษณะใดและตามแนวคิดใดโดยเฉพาะในทางสังคมวิทยาแล้วก็สามารถกล่าวได้ว่า การเป็นกลุ่ม เป็นพวกของบุคคลก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงการมีผู้นำและผู้ตามไม่ได้ การเป็นผู้นำที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจถึงสถานภาพ บทบาทและปทัสถานของกลุ่มในสังคม เพื่อที่จะช่วยให้สามารถพยากรณ์พฤติกรรมของบุคคลในสังคมและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของผู้นำเป็นอย่างยิ่ง
ผู้นำจำเป็นต้องใช้สมรรถภาพการพูดของตนในทุกระดับของการสื่อสารตั้งแต่การพูดระหว่างบุดคล การพูดภายในกลุ่ม การพูดในที่สาธารณะ และการพูดทางสื่อมวลชน การจำแนกประเภทของการพูดตามระดับต่างๆ จะช่วยสร้างความมั่นใจในตนเอง และพัฒนาประสิทธิภาพของเสียงพูดและกิริยาอาการในการพูดให้สัมฤทธิผลสมความประสงค์
การดันคว้าทางวิชาการเป็นการเสริมสร้างภาวะผู้นำให้สมบูรณ์ขึ้น เพราะการศึกษาคันคว้าก่อให้เกิดภูมิรู้-ภูมิปัญญาที่แตกฉานลุ่มลึก ช่วยให้การปฏิบัติงานหรือการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์ มีข้อมูลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ทักษะของการคันคว้าทางวิชาการจะต้องให้ครอบคลุมลักษณะของสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสารและความรู้ต่างๆ ในปัจจุบันได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออ้างอิง สื่อโสตทัตน์และสื่อที่อยู่ในฐานข้อมูลต่างๆ
การเขียนรายงานเป็นภารกิจสำคัญของผู้นำ รายงานมีหลายประเภทได้แก่ รายงานวิซาการรายงานทั่วไป และโครงการแต่ละประเภทยังจำแนกออกได้อีกหลายชนิด การเขียนรายงานจะต้องมีขั้นตอนตามลำดับ และใช้ภาษาที่ชัดเจนตรงประเด็น
การทำงานเป็นทีม
กลุ่มตามคมหมายทางสังคมวิทยานั้น บุคคลที่เป็นสมาชิกจะต้องมุ่งวัตถุประสงค์เดียวกันมีปฏิสัมพันธ์ พึ่งพาอาศัย และมีอิทธิพลต่อกันและกัน ต่างคนต่างตระหนักว่าการเป็นสมาชิกของกลุ่ม การอยู่รวมเป็นกลุ่มเป็นสัญชาตญณความต้องการของมนุษย์ นอกจากได้พึ่งพาช่วยเหลือกันอันเป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ชีวิตและทำให้ชีวิตมีคุณภาพสูงกว่าการอยู่ตามลำพังแล้ว กลุ่มยังสร้างการเรียนรู้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ช่วยให้ทำงานได้ปริมาณมากกว่าและตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย การทำเป็นทีมให้ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติของกลุ่มทำงานความหมายและองค์ประกอบของกระบวนการกลุ่ม และการสร้างประสบการณ์กระบวนการ กลุ่มด้วย
พฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มมีทั้งพฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้การทำงานของกลุ่มบรรลุเป้าหมาย และพฤดิกรรมที่เป็นอุปสรรดต่อการทำงานของกลุ่ม แต่กระบวนการกลุ่มจะช่วยปรับพฤติกรรม ของคนในกลุ่มไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการกลุ่มที่สำคัญ ได้แก่ ความต้องการการยอมรับ ทัศนคติ ค่านิยมของบุคคล ลักษณะและพฤติกรรมของบุดคล ในการทำงานเป็นทีม
มนุษย์มีวิธีคิดแก้ปัญหาได้หลายวิธี ซึ่งการใช้กระบวนการกลุ่มในการแก้ปัญหาก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่มีความสำคัญ กลุ่มแก้ปัญหามี 3 แบบที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มระดมสมอง กลุ่มในนาม และกลุ่มวิเคราะห์พลังสนาม การใช้กระบนการกลุ่มในการแก้ไขปัญหาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี การประเมินพฤติกรรมกลุ่มด้วย
การบริหารเครือข่าย
เครือข่ายเป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร และการทำงานร่วมกันของสมาชิกในเครือข่ายซึ่งอาจเป็นคคล องค์กร ชุมชน หรือประเทศ เพื่อบรรุลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยแบ่งประเภทของเครือข่ายได้ตามมิติหรือมุมมองต่างๆ และอาศัยหลักการสำคัญ ได้แก่ การรวมพลัง พันธะผูกพัน ความเสมอภาค ผลประโยชน์ส่วนรวม ความรับผิดชอบ การแลกเปลี่ยน ความไว้วางใจ การเสริมพลัง และการพึ่งพากันและกัน
กระบวนการบริหารเครือข่าย ประกอบด้วย 1) การสร้างเครือข่ายโดยการสร้างความตระหนัก และจุดร่วมของผลประโยชน์ การแสวงหาแกนนำและสมาชิก การวางแผนและการจัดโครงสร้างการจัดระบบ การสื่อสารและระบบการติดตามประเมินผล การจัดหาทรัพยากรทางการเงิน และการจัดกิจกรรมเครือข่าย 2) การพัฒนาเครือข่ายโดยการขยายเครือข่าย การปรับปรุงเครือข่าย การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกเครือข่าย และ 3) การธำรงรักษาเครือข่ายโดยการสร้างแรงจูงใจให้สมาชิกเครือข่าย การรักษาความผูกพันใกล้ชิดของสมาชิกเครือข่าย และการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาการบริหารเครือข่ายในทางปฏิบัติมีหลายประการ ดังนั้น เครือข่ายควรให้ความสำคัญ กับปัจจัยเสริมสร้างความสำเร็จของการบริหารเครือข่าย ได้แก่ ปัจจัยด้านการวางแผน ปัจจัยด้านผู้นำ ปัจจัยด้านการสื่อสาร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านการประเมินผล ปัจจัยด้านกิจกรรมและการขยายตัว และปัจจัยด้านวัฒนธรรม
ความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ
ความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจแตกต่างจากความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมทั้งความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชน และตนเอง
ปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการแสดงออกในการปฏิบัติงานการให้บริการประชาชน ปัญหาการขาดจิตสำนึกในการบริหารรัฐกิจ และปัญหาด้านการขาดทัศนคติที่ถูกต้องในการทำงาน
การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ กระทำได้โดยอาศัยกฎหมายสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปกครองบังคับบัญชาระดับต่างๆ ในหน่วยงาน
การสร้างเสริมความรับผิดชอบในการบริหารรัฐกิจ กระทำได้โดยการปลูกฝังคุณธรรมและอุดมการณ์แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ การปรับปรุงบทบาทของผู้บริหาร และการพัฒนาบุคลากรของรัฐ โดยเน้นการสร้างเสริมความรับผิดชอบในการบริหารด้วยวิธีการต่างๆ
บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพหมายถึง สภาวะทุกอย่างที่ประกอบเป็นตัวบุคคล แบ่งออกได้เป็นบุคลิกภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน คลิกภาพได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ ทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพสรุปได้ 4 ทฤษฎี
การพัฒนาบุคลิกภาพหมายถึง การสร้างตนเอง โดยในการพัฒนาบุคลิกภาพ บุคคลควรทำความเข้าใจตนเองและคนอื่น และทำการสำรวจตนเองพร้อมทั้งยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
เจ้าหน้าที่รัฐควรพัฒนาทั้งบุคลิกภาพภายนอกและคลิกภาพภายใน และควรเสริมสร้างทักษะสำคัญ 3 ประการเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ ได้แก่ ทักษะด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทักษะด้านความคิด และทักษะด้านวิชาการ
เอกสารอ้างอิง
- สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. (2558). ประสบการณ์วิชาชีพบรืหารรัฐกิจ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่2) หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
- สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. (2558). ประสบการณ์วิชาชีพบรืหารรัฐกิจ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่2) หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ที่เกี่ยวข้อง
- โครงการการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงานและการเขียนหนังสือราชการ
- ปฐมนิเทศก่อนฝึกประสบการณ์ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
- “เตรียมฝึกประสบการณ์”
- ผลงานรุ่น 63 Sites คลิก
ติดตามข่าวสารอื่นๆ