ผลงานนักศึกษา การวิจัยประเมินผลหลักการและกระบวนการ
(1)ธนพล เชียรประโคน (2)กิตติศักดิ์ จุ้ยประโคน (3)ชินพัฒน์ ศรีทอง
(1)630112801056@bru.ac.th (2)630112801050@bru.ac.th (3)630112801053@bru.ac.th
ผลงานนักศึกษา การวิจัยประเมินผลหลักการและกระบวนการ จัดทำโดย (1)ธนพล เชียรประโคน (2)กิตติศักดิ์ จุ้ยประโคน (3)ชินพัฒน์ ศรีทอง นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ชั้นปี4 สร้างสื่อประกอบเนื้อหาเกี่ยวกับการวิจัยประเมินผลโดยใช้โปรแกรมกูเกิ้ลด็อกในรายวิชา เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์ ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
การวิจัยประเมินผล หลักการและกระบวนการ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยประเมินผล
การวิจัยประเมินผลความหมายของการวิจัยประเมินผล และการเปรียบเทียบการวิจัยประเมินผลกับการวิจัยทางวิชาการหรือที่นิยมเรียกอีกชื่อว่าการวิจัยพื้นฐาน กล่าวได้ว่า การวิจัยประเมินผลเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่ ซึ่งในปัจจุบันได้มีนักวิชาการกำหนดนิยามต่างๆ ไว้อย่างกว้างขวางในที่นี้ การวิจัยประเมินผลก็คือการวิจัยประยุกต์ประเภทหนึ่งซึ่งได้นำระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างนโยบาย/แผนงาน/โครงการกับผลรับและผลกระทบทั้งที่พึ่งปราถนาและไม่พึงปราถนาทั้งผลโดยตรงและผลข้างเคียง ตลอดจนเพื่อติดตามผลและประเมินกระบวนการในขั้นตอนต่างๆระหว่างดำเนินการให้เป็นไปตามแผนแบบที่ได้วางไว้ล่วงหน้าด้วยเหตุนี้ การวิจัยประเมินผลจึงมีลักษณะต่างๆ ทั้งที่คล้ายคลึงและที่แตกต่างไปจากการวิจัยทางวิชาการในหลายประการด้วยกัน ซึ่งได้การมาแล้วในบทที่ 1 นี้
( sites คลิก )
ธรรมชาติของการวิจัยและประมวนผล
การวิจัยประเมินผลโดยเริ่มจากประวัติความเป็นมาของการวิจัยประเมินผล ซึ่งได้พิจารณาตามลำดับจากการเริ่มลองผิดลองถูก จนกระทั่งมีการพัฒนาองค์ความรู้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง กล่าวได้ว่า การวิจัยประเมินผลได้ก่อกำเนิดจากแนวความคิดเเละวิธีอย่างง่ายก่อน แต่เนื่องจากโลกของความเป็นจริงมีลักษณะซับซ้อน หลักการเเละวิธีการวิจัยประเมินผลจึงได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับสภาพเเวดล้อมดังกล่าวมากยิ่งขึ้นตามความก้าวหน้าขององค์ความรู่ทางการวิจัยประเมินผล อย่างไรก็ดี แม้หลักการเเละวิธีการวิจัยประเมินผลจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัยประเมินผลก็ยังคงรูปเสมือนแกนนำทางความคิดของการวิจัยประเมินผลที่มุ่งดำเนินการเเสวงหาคำตอบสำหรับประเด็นปัญหาทางการบริหารและปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการสนับสนุน ปรับปรุง หรือล้มเลิกนโยบาย/แผนงาน/โครงการสาธารณะได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องตามสภาพความเป็นจริง นอกจากนั้น บทนี้ยังได้พรรณนาถึงอุปสรรคและการเมืองของการวิจัยประเมินผลซึ่งมักไม่ปรากฏในการวิจัยทางวิชาการหรือการวิจัยพื้นฐาน กล่าวได้ว่า “การรู้เขา รู้เรา” มีความสำคัญยิ่งต่อนักวิจัยประเมินผลในการรักษาภาวะวิสัยและคุณภาพของงาน ท้ายที่สุด บทที่ 2 ได้่เสนอค่านิยมกับการวิจัยประเมินผล โดยปกติ ค่านิยมเปรียบเสมือน “ยาดำ” ที่เเทรกอยู่ตลอดทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัยประเมินผลที่นักวิจัยประเมินผลไม่ควรละเลย แต่ควรเข้าใจถึงผลกระทบของค่านิยมในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินงานวิจัยประเมินผล
กรอบความคิดทั่วไปว่าด้วยการวิจัยประเมินผล
ด้วยการวิจัยประเมินผลอย่างครอบคลุม โดยเริ่มต้นจากพัฒนาการของการวิจัยประเมินผลในสามยุค กล่าวคือ การประเมินความพยายาม การประเมินผลลัพธ์ และการประเมินผลรวบยอด ในยุคปัจจุบัน เกณฑ์การวิจัยประเมินผลได้รับความนิยมประยุกต์ใช้เพื่อการวิจัยประเมิลผลนโยบาย/แผนงาน/โครงการสาธารณะ มักได้แก่ เกณฑ์ประสิทธิผล เกณฑ์ประสิทธิภาพ เกณฑ์ความพอเพียง เกณฑ์ความเสมอภาค และเกณฑ์ความเป็นธรรมจากนั้นบทที่ 3 ได้นำเสนอการจัดประเภทต่างๆของการวิจัยประเมินผลทั้งตามทัศนะของโปแลนด์และของเฮ้าส์ ในขณะที่โบแลนด์ได้จำแนกประเภทของการวิจัยประเมินผลออกเป็น 3 แนวทาง เฮ้าส์ได้พิจารณาวิจัยประเมินผลได้ออกเป็น 8 แนวทาง นอกจากนี้บทที่ 3 ยังได้กล่าวถึงการวิจัยประเมินผลประเภทอื่นๆซึ่งไม่ได้รับการกล่าวถึงในการจัดประเภทของทั้งโปแลนด์และเฮ้าส์ การวิจัยประเมินผลประเภทอื่นซึงมีลักษณะน่าสนใจและได้รับการพิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่ การวิจัยประเมินผลเบื้องต้นและการวิจัยประเมินผลสรุปยอดเพื่อสรุปรวมของสชีเวน การวิจัยประเมินผลแบบซ๊เอสอี-ยูซีเอลเอของมหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐแคลิฟิเนียร์ที่ลอสแองเจลลิส และการประเมินผลแบบเคาทีแนนซ์ของสเทค กล่าวโดยสรุปบทที่ 3 ได้สรุปองค์ความรู้ทั่วไปประเมินผลไว้เป็นรากฐานสำหรับการศึกษาองค์ความรู้ของการวิจัยประเมินผลเพิ่มเติมต่อไปภายใต้บทที่ 4
กรอบความคิดว่าด้วยการทดลองและขยายผล
สาระสำคัญเกี่ยวการการสังเคราะห์องค์ความรู้ทั่วไปว่าด้วยการวิจัยประเมินผลดังที่ได้กว่าวไว้แล้วภายใต้บทที่ 3 กว่างได่ว่า แม้สาระของการวิจัยประเมินผลจะสามารถจำแนกแยกประเภทออกได้มากมายหลายลักษณะก็ตาม องค์ความรู้ของการวิจัยประเมินผลส่วนมากมีการกำเนิดมาจากสองพาราไดม์ที่สำคัญ กล่าวคือพาราไดม์ทางวิทยาศาสตร์ และพาราไดม์ทางมานุษยวิทยา อนึ่ง แม้พาราไดม์ทั้งสองจะได้รับการพัฒนาจากสาขาวิชาที่เเตกต่างกันอาศัยปรัชญาพื้นฐานที่ไม่เหมือนกันและประกอบด้วยเทคนิควิธีการที่ไม่ซ้ำแบบกันก็ตาม แต่พาราไดม์ทั้งสองต่างก็มีจุดมุ่งหมายนัยหนึ่ง บทที่ 4 ได้พยายามแสดงให้ประจักษ์ว่า พาราไดม์ทั้งสองของการวิจัยประเมินผลสามารถนำมาสังเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ภายใต้การวิจัยประเมินผลประเภททดลอง และประเภทขยายผล กล่าวได้ว่า ขณะที่การวิจัยประเมินผลนโยบาย/แผนงาน/โครงการทดลองมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาสุทธิของกลยุทธ์ที่เป็นนวัตกรรม การวิจัยประเมินผลนโยบาย/แผนงาน/โครงการขยายผลกลับมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาผลรวมที่สืบเนื่องมาจากกลยุทธ์ที่ไม่ใช่นวัตกรรมและปัจจัยแทรกซ้อนต่างๆ ในทางปฏิบัติ การประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยประเมินผลที่ผอดประเภทมักปรากฏบ่อยครั้งซึ่งก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนต่อการตัดสินใจของนักบริหารเกี่ยวกับการสนับสนุนหรือล้มเลิกนโยบาย/แผนงาน/โครงการสาธารณะในลักษณะต่างๆ ฉะนั้น นอกจากบทที่ 4 จะเสนอองค์ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการวิจัยประเมินผลประเภททดลองและประเภทขยายผลแล้ว บทนี้ยังสนับสนุนแนวคิดที่ว่าการริเริ่มนโยบาย/แผนงาน/โครงการใดๆก็ตาม จำเป็นต้องกระทำด้วยความรออบคอบและรอบรู้ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพและความพอเพียง กล่าวได้ว่า ถ้าปราศจากความรอบคอบและความรอบรู้เสียเเล้ว นโยบาย/เเผนงาน/โครงการที่ริเริ่มขึ้นใหม่อาจนำไปสู่ปัญหาที่ยุ่ีงยากสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้
การเตรียมงานวิจัยประเมินผล
งานวิจัยประเมินผลและวัฏจักรของการวิจัยประเมินผล หัวข้อย่อยควรค่าแก่การพิจารณาในการวางแผนงานวิจัยประเมินผลคือ จริยธรรมซึ่งได้กล่าวไว้ใน 3 ประเด็นคือ (1) อัตตราส่วนระหว่างความเสี่ยงภัยของตัวการและผลประโยชน์ของนโยบาย/แผนงาน/โครงการ (2) การรักษาความลับของตัวการ และ (3) ความยินยอมพร้อมใจของตัวการนอกจากนั้น ในการวางแผนการวิจัยประเมินผล นักวิจัยประเมืนผลควรตระหนักถึงการสร้างทีมงาน การบริหารงาน และการจัดทำงบประมาณ ในประการสุดท้าย บทที่ 5 ได้เสนอถึงความเชื่อมโยงระหว่างขั้นตอนต่างๆในวัฏจักรของการวิจัยประเมินผล ซึ่งเริ่มจาก (1) การกำหนดปัญหาเป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ (2) การวางแผนการวิจัยประเมินผลเลือกรูปแบบของการวิจัยประเมินผล (3) การเก็บรวบรวมข้อมูลก่อน ระหว่าง และหลังเสร็จสิ้นการดำเนินการ (4) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติและเชิงตรรก (5) การเปรียบเทียบสรุปผลและเสนอแนะ อย่างไรก็ดี รายละเอียดของแต่ละขั้นตอนจะได้นำเสนอในภาคที่ 2 ต่อไป
ปัญหา เป้าประสงค์และวัตถุประสงค์
ขั้นตอนแรกของการวิจัยประเมินผลโดยเริ่มพิจารณาจากความหมายของปัญหาสาธารณะ นิยามของเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ของนโยบาย/เเผนงาน/โครงการ ตลอดจนแนวทางในการกำหนดเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ ขั้นตอนที่หนึ่งนี้ถือได้ว่าเป็นก้าวเเรกของการดำเนินการวิจัยประเมินผล ซึ่งย่อมมีบทบาทสำคัญดังคำพังเพยที่ว่า “ถ้าไม่มีก้าวเเรกแล้วไซร้ ไฉนเลยจะมีการเดินทางหมื่นลี้” ดังนั้น การเริ่มต้นขั้นตอนเเรกอย่างระมัดระวัง ย่อมช่วยเพิ่มโอกาสในความสำเร็จในขั้นตอนต่อไป หรืออย่างน้อยก็ทำให้การทำงานในขั้นตอนต่อไปไม่ต้องประสบอุปสรรคข้อขัดข้องมากขึ้น
หลักการเลือกรูปแบบการวิจัยประเมินผล
หลักเกณฑ์ที่นักวิจัยประเมินผลควรพิจารณาในการเลือกรูปแบบการวิจัยประเมินผล ได้กล่าวว่า หลักเกณฑ์เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างนโยบาย/แผนงาน/โครงการกับผลลัพธ์และผลกระทบหลักเกณฑ์ที่กล่าวถึงในบทที่ 7 ได้แก่ หลักองค์ประกอบสาเหตุและผล รวมถึงหลักแมกซ์มินคอน นอกจากนี้ยังได้พรรณนาถึง 13 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความแม่นตรงภายในและความแม่นตรงภายนอกของสิ่งค้นพบ กล่าวโดยย่อ หลักต่างๆ ที่นำเสนอในบทที่ 7 ย่อมความเกี่ยวข้องกับความใกล้ชิดกับการพิจารณาเลือกใช้รูปแบบของการวิจัยประเมินผล ซึ่งจะกล่าวถึงโดยต่อไปละเอียดในบทที่ 8
รูปแบบการวิจัยประเมินผล
เป็นหัวใจภาคที่สอง ซึ่งได้สรุปรูปแบบวิจัยประเมินผลต่างๆจำนวน 10 แบบไว้ ทั้ง 10 แบบนี้แยกพิจารณาได้เป็น 7 แบบสำหรับการวิจัยดำเนินผลนโยบาย/แผนงาน/โครงการทดลองและสามแบบสำหรับการวิจัยประเมินผลนโยบาย/แผนงาน/โครงการขยายผล แบบวิจัยประเมินเหล่านี้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับนักวิจัยประเมินผลตั้งแต่ขั้นเเรกจนถึงขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญที่ใคร่เน้นอีกครั้งหนึ่งก็คือ รูปแบบวิจัยประเมินผลเป็นเพียงเเนวทางที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์วิจัยประเมินผลที่สุดทั้งนี้เพราะในหลักวิชาการวิจัยประเมินผลสรุปได้ว่า ไม่มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ดีที่สุดในทุกสถานการณ์วิจัยประเมินผล แม้ว่าในหลักการนักวิจัยประเมินผลมักจะนิยมใช้รูปแบบการวิจัยประเมินผลที่สามารถควบคุมปัจจัยแทรกซ้อนได้มากที่สุดก็ตาม
การแสวงหาข้อมูลที่มีคุณภาพ
งานวิจัยประเมินผลภาคสนาม ไม่ใช่เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์เท่านั้น แต่ได้เน้นความสำคัญด้วยว่านอกจากได้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์แล้ว ยังจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพในระดับที่ได้มาตรฐานอีกด้วย ดังนั้น บทที่ 9 จึงได้นำเสนอวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ การวัดค่าตัวแปรทั้ง 4 ระดับความหมายและความน่าเชื่อถือและความแม่นตรงของการวัด ได้กล่าวว่า แม้การดำเนินงานในขั้นตอนนี้แม้จะประสบด้วยความเหนื่อยยากเพราะนักวิจัยประเมินผลจะต้องทุ่มเทดำเนินงานภาคสนามซึ่งอาจเรื่มจากการทดสอบก่อนครั่งเดียวหรือหลายครั้ง อาจครอบคลุมพื้นที่รองพื้นที่หรือหลายพื้นที่และเกียวข้องกับพื้นที่ครอบคลุมหรือพื้นที่เปรียบเทียบที่เดียวหรือหลายพื้นที่ก็ตามแต่งานภาคสนามย่อมมีความสำคัญยิ่งต่อการวิจัยประเมินผลทั้งนี้เพราะปราศจากข้อมูลที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสมแล้วขั้นอื่นๆของการวิจัยประเมินผลพลอยสูญเปล่าไปด้วยอย่างน่าเสียดาย
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตรรกและเชิงสถิติ
การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงตรรกกและทางสถิติซึ่งต่างก็เป็นประโยชน์ในการวิเคราะข้อมูลดิบในงานวิจัยประเมินผล ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองประเภทได้ปรากฏชัดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพราะการวิจัยประเมินผลได้ขยายขอบเขตสาระกว้างยิ่งขึ้น จนไม่อาจอาศัยเพียงกาสรวิเคราะห์ประเภทใดประเภทหนึ่งได้โดยลำพัง การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองประเภทให้เหมาะสมกับนโยบาย/แผนงาน/โครงการ สถานการณ์ และข้อมูลย่อมเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการวิจัยประเมินผล
การประเมินประสิทธิผลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวน
การวิเคราะห์ความแปรปรวนและได้เจาะลึกในส่วนของเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนแฟคทอเรียล การวิเคราะห์ย่อมมีประโยชน์ต่อการศึกษาต่อความสัมพันธ์ระหว่างหนึ่งตัวแปรอิสระบังคับค่ากับหนึ่งตัวแปรตามในขนาดที่การวิเคราะห์ความความแปรปรวนแฟคทอเรียลมีความจำเป็นต่อการศึกษาความสำพันธืระหว่างสองตัวแปรอิสระบังคับค่าหรือมากกว่ากับหนึ่งตัวแปรตาม อย่างไรก็ดี ประเด็นที่นักวิจัยประเมินผลต้องตระหนักเสมอก็คือ เทคนิคทางสถิติแม้ว่าจะเป้นลักษณะซับซ้อนซักเพียงใดก็ตามย่อมไม่ใช้เครื่องมือที่จะสรุปความสำพันธืเชิงสาเหตุและผลระหว่างนโยบาย/แผนงาน/โครงการกับผลรับและผลกระทบ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคนิคทางสถิติเป็นเครื่องมือที่จำเป็นแต่ไม่เพียงพอสำหรับสรุปความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลดังกล่าว เพราะความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างนโยบาย/แผนงาน/โครงการกับผลรับและผลกระทบย่อมเกียวข้องเชื่อมโยงไปถึงแบบการวิจัยประเมินผล สมรรถนะในการควบคุมปัจจัยแทรกซ้อน ความน่าเชื่อถือความแม่นตรงของการวัดค่าตัวแปร เป็นต้น
การประเมินประสิทธิภาพและการประเมินความพอเพียง
ประสิทธิภาพและความพอเพียงดังที่กล่าวถึงในบทที่ 12 จัดเกณฑ์การวิจัยประเมินผลสามประการซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อการพัฒนานโยบาย/แผนงาน/โครงการสาธารณะให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่ม่งทั้งผลสมฤทธิ์ ความประหยัด และการตอบสนองต่อความต้องการทั้งหมดของสังคม แม้กณฑ์การวิจัยประเมินผลเหล่านี้จะได้รับความสนใจในการประยุกต์ใช้มากน้อยแตกต่างกันในงานวิจัยประเมินผลบั่จจุบันแต่แนวโน้มในอนาคตก็เรีมปรากฏว่าการวิจัยประเมินผลในสงคมไทยจะต้องอาศัยเกณฑ์การวิจัยประเมินผลเหล่านี้ร่วมกันมากยิ่งขึ้นอย่างไรก็ดี การวิจัยประเมินผลนโยบาย/แผนงาน/โครงการสาธารณะในอนาคตอันใกล้นี้มีแนวโน้มว่านอกจากจะต้องให้ความสำคัญต่อเกณฑ์การวิจัยประเมินผลเชิงปริมาณแล้วก็ยังจะต้องไม่มองข้ามเกณฑ์การวิจัยประเมินผลเชิงคุณภาพซึ่งได้แก่เกณฑ์ความเสมอภาคและเกณฑ์ความเบ๊นธรรมอีกด้วย เกณฑ์การวิจัยประเมินผลเช็งคุณภาพนี้ได้นำเสนอสาระสำคัญไว้แล้วภายใต้บทที่ 3 กล่าวโดยสรุป ทั้งเกณฑ์การวิจัยประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสมควรได้รับความสนใจในการประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อยกระดับมาตรฐานของการวิจัยประเมินผลน โยบาย/ แผนงาน/โครงการสาธารณะต่อไปในอนาคต
กรณีตัวอย่างของการวิจัยประเมินผล
การวิจัยประเมินผลทั้งโครงการทดลองและโครงการขยายผล สำหรับการวิจัยประเมินผลโครงการทดลองได้ยกตัวอย่างของการประยุกต์ทั้งรูปแบบทดลองแท้จริงและรูปแบบกึ่งทดลองส่วนการวิจัยประเมินผลโครงการขยายผลได้ยกตัวอย่างของการประยุกต์ใช้รูปแบบวิจัยสำรวจแบบตัดขวาง กล่าวได้ว่า ขณะที่การวิจัยประเมินผลนโฮบาย/แผ่นงาน/โครงการทดลองได้อาศัยกลุ่มควบคุมหรือกลุ่มเปรียบเทียบเบ็นเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณาความสำเร็จหรือความล้มเหลวของนโยบาย/แผนงาน/โครงการทดลอง การวิจัประเมินผลนโยบาย(แผนงาน/โครงการขยายผลจำเป็นต้องมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานให้มีลักษณะชัดเจน เฉพาะเจาะจง วัดได้ และเป็นไปได้ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้เพราะถ้าขาดเกณฑ์มาตรฐานเช่นที่กล่าว การตัดสินใจเกี่ยวกับผลรวมที่สืบเนื่องมาจากทั้งนโยบาย/แผนงาน/โครงการปัจจัยแทรกซ้อน และความบังเอิญตามช่องโอกาสต่าง ๆ ย่อมปรากฎเป็นบัญหาที่ยากแก่การแสวงหาข้อยุติ อนึ่ง สิ่งที่น่าสังเกตจากกรณีตัวอย่างทั้งสามของบทสุดท้ายนี้ ก็คือ การวิจัยประเมินผลโครงการ เหล่านี้ได้มุ่งความสำคัญของเกณฑ์ประสิทธิผลโดยเฉพาะ
อ้างอิง
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2529). การวิจัยประเมินผลหลักการและกระบวนการ. กรุงเทพ : การพิมพ์พระนคร.
ที่เกี่ยวข้อง
- โครงการการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงานและการเขียนหนังสือราชการ
- ปฐมนิเทศก่อนฝึกประสบการณ์ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
- ผลงานนักศึกษา
ติดตามข่าวสารอื่นๆ