การบริหารความขัดแย้ง (2) รายวิชาการบริหารความขัดแย้ง
สุธาดา เปรมชยกุล 620132801030
รฐนนท์ บุญคง 630132801014
วชิรพันธุ์ ปานแก้ว 630132801015
การบริหารความขัดแย้ง (2) รายวิชาการบริหารความขัดแย้ง งานกลุ่มระหว่างเรียน นำเสนอ อาจารย์ สากล พรหมสถิตย์
เทคนิคการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
จีราลักษณ์ วงษ์แก้ว (2562 : 41) ได้ทําการศึกษาการจัดการความขัดแย้งของโทมัสและคิวมานน์
1. ด้านการเอาชนะ คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาจัดการกับความขัดแย้งโดยยืนยันให้ผู้อื่นดําเนินการ ตามกฎหมาย กฎระเบียบ วิธีการและคําสั่งที่ผู้บริหารยึดถือปฏิบัติเท่านั้น โดยใช้อํานาจสั่งการตามอํานาจที่มี อยู่ ไม่ให้มีการโต้แย้งและไม่สนใจความต้องการและความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชา
2.ด้านความร่วมมือ คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาจัดการกับความขัดแย้งอย่างเปิดเผยโดยตกลง ร่วมมือกัน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมของบุคคลที่มุ่งให้เกิดความพอใจทั้งแก่ ตนเองและผู้อื่น
3.การประณีประนอม คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาจัดการกับความขัดแย้งเกิดขึ้น โดยใช้ทางสาย กลาง ใช้วิธีผ่อนปรนเข้าหากัน คํานึงถึงผลประโยชน์และความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย แสดงพฤติกรรมอย่างเป็น การ แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารมีความยุติธรรมและใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
4.ด้านการหลีกเลี่ยง คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาจัดการกับความขัดแย้งโดยการเพิกเฉยต่อความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ให้ความสําคัญกับปัญหาความขัดแย้ง โดยเชื่อว่าความขัดแย้งจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
5.ด้านการยอมให้ คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาจัดการกับความขัดแย้งด้วยการยอมเสียสละความ ต้องการของตนเอง เพื่อที่จะให้ผู้อื่นบรรลุความต้องการ โดยยอมเสียสละความต้องการของตนเอง เพื่อต้องการ รักษาความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล เป็นการเอาใจผู้อื่น เป็นผู้เสียสละปล่อยให้ผู้อื่นดําเนินการตามต้องการ
เศรษฐพล บัวงาม (2563 : 71) ได้ทําการศึกษาการจัดการความขัดแย้งไว้ดังนี้
1.การแข่งขัน คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษามุ่งใช้ตําแหน่ง ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายในการแก้ไข ปัญหา ใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการแก้ปัญหา โดยไม่ขอความร่วมมือหรือข้อคิดเห็นจากผู้ร่วมงาน มักจะแก้ไขปัญหาโดยเร็วเมื่อมั่นใจว่าถูกต้องและ ชี้ให้เห็นว่าวิธีการของตนเองถูกต้อง โดยใช้ความคิดเห็นของตนเป็นหลัก เพื่อระงับปัญหาโดยเร็วให้ได้ ตามวิถีของตนเอง
2.การประสานความร่วมมือ คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เรียนรู้ความคิดเห็นของทุกฝ่าย ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเปิดเผย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา แสวงหาข้อยุติของปัญหา โดยให้ทุกฝ่ายหาทางออก
3.การประนีประนอม คือ การที่ผู้บริหาร สถานศึกษาใช้วิธีผ่อนปรนเข้าหากัน โดยคํานึงถึง ผลประโยชน์และความพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย มีความยุติธรรมและใช้เหตุผลในการแก้ไข รักษาระดับความขัดแย้ง ให้อยู่ในระดับพอดีและเหมาะสม พยายามหาหนทางสายกลางให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ
4.การหลีกเลี่ยง คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษามีการมอบหมายให้ผู้อื่นรับผิดชอบแทนในการแก้ไข ปัญหา ประวิงเวลาในการแก้ไขปัญหา จนกว่าปัญหาทุกอย่างจะคลี่คลายไปเอง เมื่อเกิดการทะเลาะเบาะแว้ง มักปล่อยวางกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยปล่อยให้เวลาผ่านไป ไม่แสดงความคิดเห็นซึ่งนําปสู่การโต้แย้ง ไม่นําตัวเอง เข้าไปผูกมัดกับปัญหา ไม่รับรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
5.การโอนอ่อนผ่อนตาม หมายถึง การที่ผู้บริหารสถาน ศึกษาถนอมน้ําใจ เพื่อรักษาสัมพันธภาพใน การปฏิบัติงาน ไม่ต้องการให้เกิดการกระทบต่อความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและกระทบต่อจิตใจผู้อื่น มีความ ใจกว้างเสียสละคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เพื่อเห็นแก่ความสามัคคีกลมเกลียวในหน่วยงาน พยายามหาหนทางที่จะให้ผู้อื่นยอมรับในการทํางาน
กมลนัทธ์ ศรีแก้ว (2560 : 40) การบริหารจัดการความขัดแย้ง คือ การปฏิบัติใดๆให้ความขัดแย้งใน องค์การลดความรุนแรงลง หรือหมดสิ้นไปจากองค์การ รวมถึงการประสานความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้ลงรอยกัน อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดการบริหารงานความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความขัดแย้งมิใช่เป็นสิ่งที่ดีทั้งหมดหรือเสียทั้งหมด ความขัดแย้งมีทั้งประโยชน์และโทษ ทั้งนี้ขึ่นอยู๋กับประเภท ของความขัดแย้งและระดับของความขัดแย้ง ความขัดแย้งมีผลกระทบต่อองค์การและพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ความขัดแย้งทําให้องค์การมีความเสื่อมเสียในทางตรงกันข้ามกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การ มีการพัฒนา วิธีการกําจัดความขัดแย้งไม่มีวิธีใดที่จะดีที่สุด ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาสามารถเลือกวิธีการ แก้ปัญหาหรือจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ซึ่งจะเป็น ประโยชน์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
สรุปได้ว่า เทคนิคการบริหารความขัดแย้ง หมายถึงทางเลือกหรือวิธีการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การ ในครอบครัว หรือแม้กระทั้งในตนเอง วิธีการกําจัดความขัดแย้งไม่มีวิธีใดที่จะดีที่ ที่สุด สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ในทาง สร้างสรรค์ เช่น ดานการเอาชนะ ด้านความร่วมมือ ด้านการประณีประนอม ดานการหลีกเลี่ยง ด้านการยอมให้
กรณีศึกษา
จีราลักษณ์ วงษ์แก้ว (2562 : 62) สถานศึกษาเป็นองค์กรหนึ่งทางสังคมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ได้ แต่ทุกองค์การต้องมีวิธีการบริหารหรือแก้ไขที่ดีเพื่อให้ความขัดแย้งกลายเป็นคุณประโยชน์ การแก้ปัญหา ความขัดแย้งโดนวิธีต่างๆ ของผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะเป็นปัญหาในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถอายุ และบุคลิกภาพเฉพาะตัว และวิธีการแก้ปัญกาความขัดแย้ง ที่นํามาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาได้จริง ได้แก่ การเอาชนะ การร่วมมือ การประณีประนอม การหลีกให้ และ การยอมให้
เศรษฐพล บัวงาม (2563 : 71) ได้ทําการศึกษา การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร โรงเรียน เทศบาล สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนเทศบาล ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียน เทศบาล สังกัด เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จําแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทํางาน และระดับการ ศึกษา ผลการวิจัย พบว่า ครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีความคิดเห็น เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
(x =3.58, S.D.=.58) เมื่อ พิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก คือ ด้านการประนีประนอม ด้านการ เผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา และด้านการกลบเกลื่อน ตามลําดับ ส่วนด้านการถอนตัว และด้านการใช้อํานาจ อยู่ ในระดับปานกลาง
กมลนัทธ์ ศรีจ้อย (2560 : 49) ได้ทําการศึกางานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า การจัดการ ความขัดแย้งของผู้ปริหารสถานศึกา มีความสําคัยต่อการบรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษาในสถานศึกษา เป็นอย่างมาก เพราะการบริหารงานย่อมมีความสัมพันธ์กับการบริหารบุคคล ซึ่งเป็นเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ในด้านการศึกษาโดยตรง ในทัศนคติเดิมมองว่าความขัดแย้งสามารถหลีกเลี่ยงหรือขจัดให้หมดไปได้ แต่ใน ทัศนะปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความ ขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือระหว่างองค์การมาจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ สาเหตุความขัดแย้งด้านบุคลิก หรือระหว่างองค์การ ย่อมมาจากสาเหตุหลายประการ จากความแตกต่างในต้านขนาด ก็เป็นที่มาของความ ขัดแย้งเช่นเดียวกัน
สรุปได้ว่า ความขัดแย้งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา ที่ทํางาน ครอบครัว ทุกที่ล่วนมีความขัดแย้งซึ่งปัญหาความขัดแย้งของแต่ละคนนั้นต่างกันออกไป วิธีการจัดการปัญาหา ความขัดแย้งก็เป็นสิ่งท่สําคัญที่เราจะนําวิธีใดมาใช้กับปัญหาที่ตนเจอในความขัดแย้งนั้นๆ และวิธีการแก้ปัญกา ความขัดแย้งที่นํามาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาได้จริง ได้แก่ การเอาชนะ การร่วมมือ การประณีประนอม การ หลีกให้ และการยอมให้
อ้างอิง
กมลนัทธ์ ศรีจ้อย. (2560). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
จีราลักษณ์ วงษ์แก้ว. (2562). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ
ศรุดา โพธิ์เรือง. (2564). อิทธิพลของความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว ความอ่อนล้าทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจ ลาออกจากงานของะนักงานธนาคารกรณีศึกษา:ธนาคารแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปกร
เศรษฐพล บัวงาม. (2563). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการบริการความขัดแย้ง ปีการศึกษา 3/2565 ภาค กศ.บป.