

รณรงค์ประชาธิปไตย : ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
วรรณภา เวินไธสง : รายงาน ศศิธร พองขุนทด : ถ่ายภาพ สากล พรหมสถิตย์ : ตรวจทาน
วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 เวลา 11:28 ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดย
- นายพงศกร ปลั่งกลาง [ facebook ]
- นางสาวศศิธร พองขุนทด [ facebook ]
- นางสาวเนตรนที ศรีแก้ว [ facebook ]
- นางสาววารี หารประโคน [ facebook ]
- นางสาวชนากานต์ ละเอียด [ facebook ]
- นางสาววรรณภา เวินไธสง [ facebook ]
กิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อ.เมืองบุรีรัมย์ เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566
พลเมืองจะมีส่วนร่วมทางการเมือง
ทำไมต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง
การเมืองเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเราตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน ตั้งแต่เกิดจนตาย เราทุกคนอยากให้การเมืองดี เพราะจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น ถ้าการเมืองแย่ ชีวิตเราคงจะแย่แน่ๆ เราทุกคนจึงปรารถนาการเมืองที่ดี แต่การเมืองจะดีได้อย่างไรถ้าเรายังนิ่งเฉย เฉื่อยชา
พลเมืองที่มีคุณภาพทุกคนจึงกระตือรือร้น สนใจเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและทำการเมืองให้ดีด้วยตัวเอง ดังคำที่กล่าวว่า “ก่อนประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้พลเมืองในประเทศต้องปรารถนาที่จะปกครองตนเองเสียก่อน”
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของเมือง หมายถึง การที่พลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองและการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อตนเองและชุมชน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งทางตรงทางอ้อม
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง พลเมืองสามารถทำได้ด้วยตนเอง และที่ด้องดำเนินการร่วมกับผู้อื่น ดังที่เรียกว่า “การเมืองภาคพลเมือง” หรือ ” การเมืองภาคประชาชน“ ได้แก่
- การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ เช่น สิทธิในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สิทธิในกระบวนการยุติธรรม การแสดงความคิดเห็นทั้งการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายวิธีอื่นๆ เสรีภาพในการรวมกลุ่ม การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การกำหนดนโยบาย พรรคการเมืองและส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
- มีส่วนร่วมการตัดสินใจหรือกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการเรื่องต่างๆ ที่กระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู๋ของประชาชนและชุมชน
- มีส่วนร่วมสร้างกติกาและกฎหมายระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมทั้งมีสิทธิเข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- มีส่วนร่วมตรวจสอบนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น การฟ้องหน่วยงานของรัฐ การเข้าชื่อขอลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่น
- มีส่วนร่วมในการออกเสียงมติ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้บัญญัติให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมออกเสียงประชามติ โดยให้ กกต. ดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติได้ในกรณีต่างๆ โดยการออกเสียงที่จะถือเป็นข้อยุติในเรื่องที่ทำประชามติ ต้องมีผู้ใช้สิทธิเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
ส่วนการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยอ้อมหรือเรียกว่า “การเมืองระบบตัวแทน” นั้น เราคุ้นเคยกันดีเพราะผ่านการเลือกตั้งตัวแทนมาแล้วหลายครั้ง ทั้งระดับชาติ ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และระดับท้องถิ่นได้แก่ สมมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ เช่น อบต. เทศบาล อบจ. เมืองพัทยา และกทม. เป็นต้น
เรามีส่วนร่วมการเมืองระบบตัวแทนได้ทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการเลือกตั้ง เช่น ร่วมรณรงค์การเลือกตั้ง เป็นกรรมการประจำหน่วยการเลือกตั้ง ร่วมตรวจสอบและร้องเรียนเมื่อมีทุจริตการเลือกตั้ง เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ร่วมตรวจสอบและร้องเรียนเมื่อมีทุจริตการเลิกตั้ง รวมทั้งติดตามตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองเมื่อได้เข้าสู่ตำแหน่งแล้ว
ประเทศก้าวหน้า เลือกคนดีเข้าสภา
ทุกเสียงคือพลัง ยับยั้งสิ่งผิด
ร่วมกันใช้สิทธิ อย่างสุจริต โปร่งใส
ประเทศจะรุ่งเรือง หากพลเมืองเลือกคนดี
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง