

รณรงค์การเลือกตั้งในสถาบันอุดมศึกษา
[ วสันต์ เสียงวังเวง : รายงาน ] & [ พัดชา หมายทวี : ถ่ายภาพ ]
วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 เวลา 14:55 ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดย
- นายวสันต์ เสียงวังเวง
- นางสาวรจนา ปิยไพร
- นางสาวพัดชา หมายทวี
- นางสาวสุพัตรา ไชยณรงค์
- นางสาวนภัสวรรณ ทับประโคน
ทำกิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ อ.เมืองบุรีรัมย์ เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566
เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
- รณรงค์เลือกตั้ง
- นายวสันต์ เสียงวังเวง
- นางสาวรจนา ปิยไพร
- นางสาวพัดชา หมายทวี
- นางสาวสุพัตรา ไชยณรงค์
- นางสาวนภัสวรรณ ทับประโคน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 500 คน มาจาก ส.ส. แบบแบ่งเขตๆ ละ 1 คน รวม 400 คนและ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน
โดยใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ใบหนึ่งสำหรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ใช้ระบบใครได้คะแนนมากที่สุดในแต่ละเขตเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง อีกใบหนึ่งสำหรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ประสงค์จะส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ต้องจัดทำบัญชีผู้สมัครได้ไม่เกิน 100 คน วิธีการคำนวนหา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศและคำนวนเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมืองตามสัดส่วนคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ส.ส. ได้แก่
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
ผู้สมัครแบบแบ่งเขตต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ด้วย เช่น
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี
- เกิดในจังหวัดที่สมัคร
- เคยศึกษาในจังหวัดที่สมัครเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา
- เคยรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ หรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครแล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี
ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เช่น
- เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นหนังสือพิมพ์ สื่อมวลชน ใดๆ
- อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
- ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
- เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- ต้องมีสัญชาติไทย
- ถ้าได้สัญชาติไทยมาโดยการแปลงสัญชาติก็ต้องได้มาไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ต้องมีอายุไม่ต่ำว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
- ต้องเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง (สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.) และไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง (สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น)
ขั้นตอนการออกเสียงลงคะแนน
- ตรวจสอบรายชื่อ
- ยื่นบัตรประชาชน / ลงลายมือชื่อ
- รับบัตรเลือกตั้ง
- เข้าคูหากากบาทลงคะแนน
- หย่อนบัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง
บทบาทของพลเมืองในการตรวจสอบการเลือกตั้ง
- การแสวงหาข่าวสารในการเลือกตั้ง
- ไม่ละเมิดข้อห้ามและกระทำความผิดในการเลือกตั้ง
- การให้ข้อมูลหรือชี้เบาะแสการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ต่อ กกต.
ศส.ปชต. เป็นศูนย์กลางการพัฒนาประชาธิปไตย
ศส.ปชต. สร้างการเรียนรู้ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งแก่ประชาชนและเยาวชน
ศส.ปชต. ส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย
ศส.ปชต. สร้างและขยายเครือข่ายพลเมือง
ศส.ปชต. มีส่่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย : เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย : เคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคม
พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย : รับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม และประเทศชาติ
วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย : เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เคารพสิทธิและเสรีภาพ
วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย : เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย
วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย : รู้หน้าที่ มีวินัยและมีความรับผิดชอบ
วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย : ใช้เหตุผล เคารพความแตกต่าง
วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย : มีส่วนร่วมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง : ใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างมีคุณภาพ รู้เท่าทัน
การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง : สังเกตการณ์การทำหน้าที่ กปน.
การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง : สังเกตการณ์การลงคะแนน / นับคะแนน
การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง : พบเห็นการทุจริตผิดพลาดให้ทักท้วง ร้องเรียน
ข่าวสารอื่นๆ