

ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ : การเลือกตั้ง ส.ส. 2566 [ 2 ]
ศส.ปชต.ในสถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
[ Center for Democratic Development Buriram Rajabhat University ]
คู่มือนิสิต นักศึกษา รณรงค์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
หน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
มาตรา 50 (7) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส.




บทบาทของพลเมืองในการตรวจสอบการเลือกตั้ง








https://www.facebook.com/ECTmedia (คลิก)


ประชาธิปไตย ต้องมีการเลือกตั้ง
- การเลือกตั้ง หมายถึง กิจกรรมและกระบวนการได้มาซึ่งตัวแทนของประชาชนที่ประชาชนเลือกจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้ไปทำหน้าที่แทนตน
- การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นว่าอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง โดยประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจนั้นผ่านทางผู้แทนของตนในการปกครองและบริหารประเทศ
- การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงซึ่งเจตนารมณ์ของประชาชนในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาประเทศผ่านตัวแทนของตนที่ไว้ใจ
- การเลือกตั้งของประเทศไทย สามารถแยกได้ 2 ระดับ
- ระดับชาติ ประกอบด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
- ระดับท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล (ทน./ทม./ทต.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และการปกครองรูปแบบพิเศษอีก 2 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา
- สำนักพัฒนาเครือข่ายการเลือกตั้ง. (2565). คู่มือประชาชน “พลเมืองคุณภาพ” (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2564
- ส.ส. จำนวน 500 คน
- แบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน (400 เขต ๆ ละ 1 คน รวม 400 คน)
- บัญชีรายชื่อ 100 คน (1 บัญชี/พรรค ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง)
- บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ (ระบบผสมเสียงข้างมาก)
- แบ่งเขตเลือกตั้ง 1 ใบ
- บัญชีรายชื่อ 1 ใบ
- เวลาลงคะแนน 08.00-17.00 น.
หน้าที่และอำนาจของ ส.ส.
-
- ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
- เป็นผู้เลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีจากการเสนอของพรรคการเมือง
- ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี เช่น ตั้งกระทู้ถาม เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- พิจารณาจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศ
- นำปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไข
หน้าที่และอำนาจของ ส.ว.
-
- พิจารณายังยั้งร่างกฎหมายที่ขัดต่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
- ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี หรือให้คณะรัฐมนตรีชี้แจงข้อเท็จจริงโดยไม่มีการลงมติ
- ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
- นำปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไข
ลักษณะของผู้แทนที่ประชาชนควรเลือก
- มีความรู้ ความสามารถ รู้งาน รู้หน้าที่
- มีจิตสำนึกสาธารณะ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
- มีวิสัยทัศน์ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีการดำเนินชีวิตที่ดี มีวินัยและรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม
- มีประวัติดี โปร่งใส ไม่เคยทุจริต ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้าถึงประชาชน
- มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต
- มีความเข้มแข็งและกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อส่วนรวม
- มีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้
- มีอุดมการณ์ ยึดหลักการประชาธิปไตย
(คู่มือประชาชน : พลเมืองคุณภาพ)
เอกสารอ้างอิง
- สำนักพัฒนาเครือข่ายการเลือกตั้ง. (2565). คู่มือประชาชน “พลเมืองคุณภาพ” (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยในสถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีสถานที่ทำการตั้งอยู่ ณ อาคาร 6 ชั้น 1 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยลัยราชภัฏบุรีรัมย์