TPMAP : Thai People Map and Analytics Platform
TPMAP คือ อะไร
?? TPMAP : Thai People Map and Analytics Platform คือ ระบบบริหารจัดกาารข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า สามารถครอบคลุมปัญหา เช่น เด็กแรกเกิด การศึกษา ผู้สูงอายุ การพัฒนาสภาพที่อยู่อาศัย ใช้ระบุปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด ประเทศ หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น [1] ที่เกิดจากการดำเนินการพัฒนาระบบ Big Data (ข้อมูลขนาดใหญ่) ของภาครัฐ ในประเด็นการยกระดับคุณภาพของประชาชน ทั้งในด้านการเพิ่มรายได้ การลดภาระค่าครองชีพ และการเพิ่มโอกาสด้านอาชีพ โดยที่ TPMAP สามารถระบุได้ว่า “คนจนเป้าหมาย” มีปัญหาอะไรบ้างในแต่ละมิติ (ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการรัฐ) จากข้อมูลจำนวนคนในครัวเรือนยากจนที่ ตก ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จึงร่วมมือกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) นำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาใช้ในการบริหารจัดกาารข้อมูลภาครัฐ โดยพัฒนาเป็น ” TPMAP” ทีพีแมป ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า [2] เอกสารแนบ ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า
ที่มาของข้อมูลใน TPMAP
??การทำงานของ TPMAP อาศัยข้อมูลจากหลายแหล่งมายืนยันซึ่งกันและกัน ✔✔ TPMAP เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง เนคเทค-สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยใช้ข้อมูล จปฐ. จากกรมการพัฒนาชุมชน และข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐจากกระทรวงการคลังมายืนยันซึ่งกันและกัน และใช้วิธีการ Multidimensional Poverty Index (MPI) ในการประมวลข้อมูลเพื่อดูความยากจนในหลายมิติ (คิดค้นโดย Oxford Poverty & Human Development Initiative และ United Nation Development Programme) ซึ่ง สศช. ได้นำมาปรับใช้กับประเทศไทย ตั้งต้น ✔✔ จัดเป็นนวัตกรรมพร้อมใช้ โดยใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จากกรมการพัฒนาชุมชน และข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ จากกระทรวงการคลัง มายืนยันซึ่งกันและกัน ✔✔ (คนที่ได้รับการสำรวจว่าจน และมาลงทะเบียนว่าจน) = คนจนในเป้าหมาย TPMAP คือ คนจนใน จปฐ. ที่ไปลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 [3] ใช้งานเว็บไซต์ TPMAP ได้ที่ https://www.tpmap.in.th??
จำนวนคนจนในประเทศไทย
คนจนเป้าหมาย ในประเทศไทย คือ คนจนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เนื่องจากเป็นคนที่ได้รับการสำรวจว่าจนจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และยังมาลงทะเบียนว่าจน จากข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ กระทรวงการคลัง เป็นการบูรณาการข้อมูลระหว่าง จปฐ และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ [4] Thai People Map and Analytics Platform
?? TPMAP : Thai People Map and Analytics Platform คือ ระบบบริหารจัดกาารข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า สามารถครอบคลุมปัญหา เช่น เด็กแรกเกิด การศึกษา ผู้สูงอายุ การพัฒนาสภาพที่อยู่อาศัย ใช้ระบุปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด ประเทศ หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ที่เกิดจากการดำเนินการพัฒนาระบบ Big Data (ข้อมูลขนาดใหญ่) ของภาครัฐ ในประเด็นการยกระดับคุณภาพของประชาชน ทั้งในด้านการเพิ่มรายได้ การลดภาระค่าครองชีพ และการเพิ่มโอกาสด้านอาชีพ สำหรับข้อมูลปี 2565 เป็นการบูรณาการข้อมูลระหว่าง จปฐ 2564 และ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 [5] โดยที่ ความยากจนสามารถวัดได้จากดัชนีความยากจนหลายมิติ หรือ ดัชนี MPI (Multidimensional Poverty Index) ที่พิจารณาจาก 5 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการรัฐ โดยที่คนจน 1 คน มีปัญหาได้มากกว่า 1 ด้าน [6]
?? TPMAP หรือ Thai People Map and Analytics Platform คือระบบ Big Data ของภาครัฐที่สามารถระบุได้ว่าคนจนนั้นอยู่ที่ไหน มีปัญหาในมิติอะไรบ้าง เช่น การศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ การเข้าถึงบริการรัฐ การเงิน ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์กับผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้สามารถออกนโยบายแก้ปัญหาได้ตรงจุด
ข้อมูลที่ได้จาก TPMAP
- คนจนมีกี่คน อยู่ที่ไหนบ้าง
- จำนวนคนจนในประเทศไทย
- สัดส่วนคนจนเป้าหมายในประเทศไทย
- ความยากจนสามารถวัดได้ 5 มิติ
- พื้นที่ที่มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
- พัฒนาการของคนจนตามความจำเป็นพื้นฐานที่ยังขาดแคลน
TPMAP ตอบคำถามอะไร
- ตอบคำถาม “คนจนอยู่ที่ไหน”
- ตอบคำถาม “คนจนมีปัญหาอะไร”
- ตอบคำถาม “จะพ้นความยากจนได้อย่างไร” [7]
ประโยชน์จาก TPMAP
- วิเคราะห์ปัญหาได้ถูกต้องตรงประเด็น
- กำหนดนโนบายเพื่อแก้ไขปัญหา
- นำนโนบายไปปฏิบัติ
- ประเมินผลนโนบาย [8]
สรุป
?? ?? TPMAP คือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform) ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอดจากระบบบริหารจัดการข้อมูลคนจนแบบชี้เป้า (Thai Poverty Map and Analytics Platform) ให้สามารถครอบคลุมปัญหาที่กว้างขึ้น เช่น เด็กแรกเกิด การศึกษา ผู้สูงอายุ การพัฒนาสภาพที่อยู่อาศัย โดยยังคงความสามารถของระบบเดิมในการชี้เป้าความยากจนไว้ด้วย TPMAP จึงสามารถใช้ระบุปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด ประเทศ หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและสามารถออกแบบนโยบาย โครงการในการแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการหรือสภาพปัญหาได้
?? ?? TPMAP เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี