

ระบบคลังข้อมูลรายวิชาความเป็นพลเมืองดีกับการป้องกันการทุจริต
ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ ในรายวิชาพื้นฐาน 0001301 ความเป็นพลเมืองดีกับการป้องกันการทุจริต ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
♣♣♣ คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดี คุณธรรมแห่งชาติ ความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา การทุจริตคอรัปชันในสังคมไทย, สาเหตุและปัจจัยของการทุจริตคอรัปชัน, ประเภทของการทุจริต, ผลกระทบของการทุจริตต่อสังคม, การแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม, บทบาทหน้าที่ของพลเมืองดีในการต่อต้านทุจริต, ความละอายและความไม่อดทนต่อพฤติกรรมทุจริต ความพอเพียงในฐานะเครื่องมือต่อต้านทุจริต, การเสริมสร้างแนวทางการป้องกันทุจริตในระดับครอบครัว สังคมและประเทศชาติ, กรณีศึกษาด้านความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา
♣♣♣ จุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชา
-
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดี คุณธรรมแห่งชาติ ความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา การทุจริตคอรัปชันในสังคมไทย
-
เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยของการทุจริตคอรัปชัน
-
เพื่อให้ผู้เรียนจำแนกประเภทของการทุจริต ผลกระทบของการทุจริตต่อสังคม
-
เพื่อให้ผู้เรียนแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
-
เพื่อให้ผู้เรียนแสดงออกถึงบทบาทหน้าที่ของพลเมืองดีในการต่อต้านการทุจริต ความละอายและความไม่อดทนต่อพฤติกรรมทุจริต ความพอเพียงในฐานะเครื่องมือต่อต้านทุจริต
-
เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาการเสริมสร้างแนวทางการป้องกันทุจริตในระดับครอบครัว สังคมและประเทศชาต
-
เพื่อให้ผู้เรียนสังเคราะห์กรณีศึกษาด้านความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ตามหลักสูตรป้องกันการทุจริต (สำนักงาน ป.ป.ช.) โดย กระทรวงคมนาคม >>>>คลิกรับหนังสือชุดวิชาป้องกันการทุจริต<<<<
♣♣♣ หนังสือชุดวิชาป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย
- พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม
- การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
-
ความละอายและความไม่อดทนต่อการทุจริต
-
จิตพอเพียงต้านทุจริต
♣♣♣ มาตรฐานการเรียนรู้ในรายวิชา
-
คุณธรรมจริยธรรม
-
มีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
-
เคารพกฎระเบียบและกฎเกณฑ์ของสังคม
-
สามารถปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยมและจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้ดุลยพินิจทางค่านิยมพื้นฐานและความรู้สึกของผู้อื่น
-
-
ความรู้
-
มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎี
-
สามารถหาความรู้เพิ่มเติม
-
สามารถวิเคราะห์โดยนำหลักทฤษฎีไปประยุกต์ใช้
-
สามารถเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
-
มีความรู้เพียงพอต่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
-
-
ทักษะทางปัญญา
-
มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมา
-
สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยนำหลักการต่างๆ มาอ้างอิงอย่างมีเหตุผล
-
-
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
-
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
-
มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
-
สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ โดยรู้จักการวางแผนในการดำเนินชีวิตและรับผิดชอบตนเอง
-
-
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี
-
สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บข้อมูลนำเสนอ และสามารถเลือกรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมสอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
-
สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในการพูดและการเขียน
-
>>>>หนังสือชุดวิชาป้องกันการทุจริต<<<<
♣♣♣ หลักการและเหตุผล
การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาอย่างช้านานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งการคอร์รัปชันในรูปแบบส่วนบุคคลและสถาบัน เช่น การให้และรับสินบน การขู่เข็ญบังคับและให้สิ่งของล่อใจ การยอมรับของขวัญ การไม่กระทำตามหน้าที่แบบตรงไปตรงมา การใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด การทุจริตการเลือกตั้ง การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การรณรงค์ที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการคอร์รัปชันเชิงนโยบาย เช่น การใช้นโยบายบังคับ การออกกฎหมาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ อย่างมีอคติ
♣♣♣ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
รายวิชา (พลเมืองดีกับการป้องกันการทุจริต) ในหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2561 ให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ และมีการดำเนินการรับความเห็นของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษาไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของการกระทำทุจริตในลักษณะต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทุจริต ความสำคัญของการต่อต้านการทุจริต
♣♣♣ กลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ระดับปฐมวัยและ ป.1-ม.6) “รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต”
- หลักสูตรอุดมศึกษา “วัยใส ใจสะอาด”
- หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ “แนวทางรับราชการกลุ่มทหารและตำรวจ”
- หลักสูตรวิทยากร “สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต”
- หลักสูตรโค้ช “โค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต”
♣♣♣ พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่จะต้องร่วมมือต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ ทั้งบัญญัติให้รัฐต้องส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกัน รวมกลุ่มเป็นเครือข่าย เพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในมิติของภาคประชาชน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปเป็นสังคมพลเมือง (พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม) พลเมืองมีจิตสำนึกสาธารณะร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาการทุจริตในสังคมไทย
พลเมืองดี หมายถึง ประชาชน หรือราษฎร หรือพสกนิกร ที่ประพฤติตนให้เป็นไปตามระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ ของสังคม โดยบุคคลดังกล่าวจะต้องมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ลักษณะทั่วไปของพลเมืองดี : ลักษณะของพลเมืองโดยทั่วไปมีดังนี้
1) เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และข้อบัญญัติของกฎหมาย
2) มีเหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3) ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ แม้ว่ามตินั้นๆ จะไม่ตรงกับความคิดของตนเอง
4) มีน้ำใจประชาธิปไตย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ตน
5) เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
6) รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน และประเทศชาติ
7) มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
8) มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคม การเมืองการปกครองของประเทศ
9) มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ
♣♣♣ การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
การเรียนรู้เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเกี่ยวกับการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องและนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
-
-
- สาเหตุของการทุจริต
- ความหมายของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม รูปแบบของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
- วิธีคิดแบบฐาน 10 และการคิดแบบฐาน 2
- บทบาทของรัฐ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ)
-
♣♣♣ ความละอายและไม่ทนต่อการทุจริต
เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดว่าด้วยความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต ความเป็นพลเมืองที่ไม่ทนต่อการทุจริต การแสดงออกถึงการไม่ทนต่อการทุจริต กรณีศึกษาปรากฎการณ์ที่่เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ ที่สะท้อนถึงความอายและความไม่ตนต่อการทุจริต เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง และนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
-
-
- การทุจริต
- ความอายต่อการทุจริต
- ความไม่ทนต่อการทุจริต
- การลงโทษทางสังคม
- ช่องทางและวิธีการร้องเรียนการทุจริต
- มาตรการคุ้มครองช่วยเหลือพยานและการกันบุคคลไว้เป็นพยาน
-
♣♣♣ การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
เรียนรู้เกี่ยวกับที่มา ความหมายของโมเล STRONG การนำโมเดลไปประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง และนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม
-
-
- ต้นแบบความพอเพียง (ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
- STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
-
♣♣♣ สาระสำคัญเชื่อมโยงกับทิศทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
-
-
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- วาระการปฏิรูปที่ 1 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
- โมเดลประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (Thailand 4.0)
- ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
-