#เอกสารประกอบการสอน (สากล พรหมสถิตย์) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ฯ 4/08/2564
ประวัติรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญไทยภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2560
หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ได้มีการนำรัฐธรรมนูญมาใช้เป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจการปกครอง
นรนิติ เศรษฐบุตร (2558 : 397) ได้สรุปไว้ว่า เมื่อศึกษาถึงวิวัฒนาของการได้มาของรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับแรกในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาจนถึงรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 นับเป็นเวลาแปดสิบสองปีกว่าของการพัฒนาการเมืองไทย เราก็ได้เห็นว่ารัฐธรรมนูญได้เป็นสถาบันการเมืองอันเป็นที่ยอมรับของมหาชนไทยมาตามลำดับ แม้ว่าตัวรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะถูกยกเลิกได้โดยคณะผู้ยึดอำนาจมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็จัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแทน
ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 20 ฉบับ เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย จึงขอกล่าวถึงสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับอย่างสั้นๆ พอสังเขป ดังนี้
ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ประกาศใช้ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร โดยมีเจตนาที่จะประกาศใช้เป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร มีการบัญญัติแนวทางหลักในการปกครองประเทศ ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะกรรมการราษฎร อำนาจตุลการทางศาล และอำนาจนิติบัญญัติทางสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีลักษณะการจำกัดอำนาจกษัตริย์และใช้เป็นเครื่องมือปกป้องและเอื้อประโยชน์แก่คณะราษฎร โดยสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 70 คน แต่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะราษฎร แลฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจยุบสภา (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2557 : 84) มีผลใช้บังคับตามคำกราบบังคมทูลของคณะราษฎร เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ฉบับที่ 19 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
ฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- หมวดที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 1-5)
- หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 6-14)
- หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย (มาตรา 25-49)
- หมวดที่ 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 50)
- หมวดที่ 5 หน้าที่ของรัฐ (มาตรา 51-63)
- หมวดที่ 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ (มาตรา 64-78)
- หมวดที่ 7 รัฐสภา (มาตรา 79-157)
- หมวดที่ 8 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 158-183)
- หมวดที่ 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (มาตรา 184-187)
- หมวดที่ 10 ศาล (มาตรา188-199)
- หมวดที่ 11 ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 200-214)
- หมวดที่ 12 องค์กรอิสระ (มาตรา 215-247)
- หมวดที่ 13 องค์กรอัยการ (มาตรา 248)
- หมวดที่ 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 249-254)
- หมวดที่ 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 255-256)
- หมวดที่ 16 การปฏิรูปประเทศ (มาตรา 257-261)
- บทเฉพาะกาล (มาตรา 226-279)
สรุป
ปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
-
-
- ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560
- คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น ผ่านการออกเสียงประชามติโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- จำนวน 279 มาตรา
- รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร 500 คน วุฒิสภา 200 คน (วาระเริ่มแรกวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก 250 คน)
- คณะรัฐมนตรี ไม่เกิน 36 คน (นายกรัฐมนตรี 1 คน รัฐมนตรีอื่น 35 คน)
-
เอกสารอ้างอิง
- กิจบดี ก้องเบญจภุช. (2553). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2549). การเมืองการปกครองไทย : จากยุคสุโขทัยถึงสมัยทักษิณ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มายด์ พับลิชชิ่ง.
- . (2557). กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ธนภัทร (2006) พริ้นติ้ง.
- ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2560). กฎหมายรัฐธรรมนูญ : แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
- ณัฐกร วิทิตานนท์. (2557). หลักรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- นรนิติ เศรษฐบุตร. (2558). รัฐธรรมนูญไทยกับการเมืองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2558). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย : ความเป็นมากและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
- มนตรี รูปสุวรรณ. (2543). กฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- มานิตย์ จุมปา. (2549). คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 พร้อมข้อเสนอสำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
- วิชัย สังข์ประไพ. (2543). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง