

- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (รปศ.) มีการจัดโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป (กศ.บป.) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ทำงานประจำวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ได้มีโอกาสในการศึกษาและพัฒนาตนเอง ตอบสนองต่อยุทธศาสต์การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และบุคลากรในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
- ปีการศึกษา 2564 จะเปิดภาคเรียนที่ 1 วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 นักศึกษาภาค กศ.บป. รุ่นที่ 64 (รุ่น 36) ใช้เวลาในการเรียน 12 ภาคการศึกษา 4 ปีการศึกษา (ปีการศึกษาละ 3 ภาคเรียน) กำหนดจำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องเรียนไม่น้อยว่า 128 หน่วยกิต มีรายวิชาที่อยู่ในขอบข่ายของสาขาวิชาฯ ดังนี้
- ระบบบริหารราชการไทย, ทฤษฎีองค์กรและการจัดการ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ (ภาคเรียนที่ 1 ปีที่ 1)
- การบริหารการพัฒนา, นโยบายสาธารณะและการวางแผน (ภาคเรียนที่ 2 ปีที่ 1)
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ, หลักและเทคนิคการบริหารงานร่วมสมัย (ภาคเรียนที่ 3 ปีที่ 1)
- การปกครองท้องถิ่นไทย, การบริหารการคลังและงบประมาณ (ภาคเรียนที่ 1 ปีที่ 2)
- กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง, การบริหารความขัดแย้ง (ภาคเรียนที่ 2 ปีที่ 2)
- การบริหารงานรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน, ภาวะผู้นำสำหรับการบริหารและการสร้างทีมงาน (ภาคเรียนที่ 3 ปีที่ 2)
- กฎหมายและจริยธรรมสำหรับนักบริหาร, การบริหารแรงงานและสวัสดิการสังคม (ภาคเรียนที่ 1 ปีที่ 3)
- กฎหมายอาญา, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ภาคเรียนที่ 2 ปีที่ 3)
- ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร, ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐประศาสนศาสตร์ (ภาคเรียนที่ 3 ปีที่ 3)
- ธรรมาภิบาลในองค์การภาครัฐ, หลักกฎหมายปกครอง, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, การบริหารโครงการ (ภาคเรียนที่ 1 ปีที่ 4)
- กฎหมายลักษณะพยาน, การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์, การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์เบื้องต้น (ภาคเรียนที่ 2 ปีที่ 4)
- การฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์, สัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์ (ภาคเรียนที่ 3 ปีที่ 4)
- โครงสร้างรายวิชาใช้ตามการจัดการศึกษาภาคปกติทุกประการ ผู้สำเร็จการศึกษามาหลักสูตรสามารถสะสมผลการเรียนในระดับเกียรตินิยมได้เช่นเดียวกัน